นักวิชาการแนะการเอาใจใส่ในครอบครัวมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาเด็กติดเกมส์

นักวิชาการ เผยการเอาใจใส่ในครอบครัวมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาเด็กติดเกมส์ โดยเด็กที่เล่นเกมส์แล้วมีพฤติกรรมความรุนแรงปัจจัยหลักอยู่ที่ พื้นฐานการเลี้ยงดูจากครอบครัว ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจะดูแลเอาใจใส่ และใส่ใจวีธีการเลี้ยงลูกให้ถูกต้อง

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 มูลนิธิสาธารณะสุขแห่งชาติ สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และภาคีเครือข่าย ได้จัด เวทีเสวนาสาธารณะ ความรุนแรง และการพนันในเกมส์ออนไลน์ ร่วมกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมี นายไมตรี อินทุสุต อดีตปลัด พม. ในฐานะ ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน

โดยวัตถุประสงค์การจัดเสวนา คือ การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบจากเนื้อหาความรุนแรง และเนื้อหาการพนันในออนไลน์ เพื่อเสนอแนะแนวทางการกำหนดนโยบาย และมาตรการในการปกป้องเด็กและเยาวชน จากเนื้อหาความรุนแรง การพนันในเกมส์ออนไลน์

“ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในธุรกิจเกมส์ออนไลน์ที่มีมูลค่าประมาณ 4.6 ล้านล้านบาททั่วโลก และประเทศไทยเป็นอันดับ 2 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมูลค่าการตลาดในปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท และมีผู้เล่น หรือ เกมส์เมอร์กว่า 21.8 ล้านคน โดยที่คนไทยกว่า 70 ล้านคน มี 27.8 ล้านคนที่เป็นเกมส์เมอร์” นายพงศธรกล่าว

คุณกัลยา รุ่งวิจิตรชัย ประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมสภาผู้แทนราษฏร กล่าวถึง เรื่องของเกมส์การพนันออนไลน์สัมพันธ์ มีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญก็คือ เรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยี การสื่อสาร โทรคมมานาคม รายการติดตามตัว ตรวจสอบ ว่ามีการใช้เทคโนโลยี ไปในทางที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือไม่ จากการที่ ได้เริ่มงานลงพื้นที่ ก็มีปัญหาต่างๆ ที่เห็นในสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยกรรมมาธิการก็ได้เชิญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น กสทช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม บริษัทโอเปอเรเตอร์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมือถือทุกข่าย ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือทำให้มองเห็นว่าเกมส์พนันเเละความรุนเเรงเป็นเรื่องที่ มีผลกระทบต่อสังคมในเชิงลบอย่างยิ่ง ในเรื่องของการพนันก็ได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาชี้แจงเรื่องของกฎหมาย พ.ร.บ. ความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ 2560 ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นเจ้าภาพหลัก แต่การบังคับใช้มันไม่รวดเร็ว ไม่เข้มข้น เหตุการณ์เหล่านี้ถึงปรากฏในสังคม เราต้องสร้างความตะหนักกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เชิญมาสอบถามทางบริษัทไลน์ ก็พยายามที่จะได้ปิดเรื่องของการพนันออนไลน์ ในเรื่องของการพนัน ชี้ชวน กสทช. มีความเกี่ยวข้อง การควบคุมเนื้อหาสาระ ให้ดูแลให้เข้มข้น ในส่วนของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นเจ้าภาพ ของพ.ร.บ.ในเรื่องของคอมพิวเตอร์ ก็ให้ดูแลให้เข้มงวดกว่านี้ ก็เน้นย้ำไป กำชับไปในส่วน ที่เกี่ยวข้อง

 

เกมส์กับความรุนแรงมันสัมพันธ์กันยังไง?

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม กล่าวว่า เรื่องของเกมส์และการพนันออนไลน์ เข้าถึง ติดง่าย และฝังลึกถึงยีนที่ผมกำลังจะพูดต่อไปนี้ มีบทพิสูจน์ ทุกวันนี้เกมส์โดยทั่วไปเป็นเกมส์ต่อสู้โดยส่วนใหญ่ โดยสถิติเป็นเกมส์ทำลายล้างสูงเป็นส่วนใหญ่ แล้ว 20+ เกมส์นอกจากจะฆ่าฟัน ยังเอาไปแขวน ยิ่งกว่าสัตว์ แล้วถ้าสามารถเก็บแต้มได้เยอะ แบบนั้นเอาไปเที่ยวซ่องโสเภณี ในเกมออนไลน์ ภาพเสมือนจริง คำถามคือเพื่ออะไร มีเกมแบบนี้เพื่ออะไร องค์การอนามัยโลก ประชุมครั้งหนึ่งที่บอร์ดเข้าร่วมประชุม ในไม่กี่ปีต่อมา องค์การอนามัยโลก ประกาศให้กลายเป็นโรคเสพติดเกมส์ โดยจะมีพฤติกรรมนิสัยนั้น ไปจนเสียศูนย์ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว พูดง่าย ๆ ก็คือข้าวไม่กิน ธรรมชาติของคนมันต้องหิวข้าวมันต้องกินข้าวมันต้องนอน มันต้องพักผ่อน คือไม่ทำกิจวัตรประจำวัน นี่เป็นสัญญาณ แรก ถ้าดีกรีของการเล่น ดีกรีของการเสพติด มันแรงขึ้นหนักขึ้น ซึ่งมากขึ้น อาจจะเล่นจำนวนชั่วโมงมากขึ้น เล่นเกมส์ที่รุนแรงมาก ในระดับแบบนี้เข้าสู่สัญญาณที่2 ส่วนในสัญญาณที่ 3 ถ้าไม่ได้เล่น จะเกิดอาการคลั่งหรือเรียกอีกอย่างว่าลงเเดง การลงแดงฝังลึก หลักๆคือการทำร้ายพ่อแม่ โดยไม่คิดว่านั่นคือสิ่งที่ผิด

อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ให้ข้อมูลว่า ประเด็นที่ 1 คือเกมส์ที่มีเนื้อหาความรุนแรงก็จะมีแนวโน้มที่เด็กจะเสพติดความรุนแรง โดยสัญชาตญานความรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการระบายหรือว่าการแสดงออก เพราะงั้นเราไม่สามารถจะแสดงออกในพื้นที่สาธารณะได้ อาจจะเป็นสิ่งที่กฎหมายห้าม การที่จะเล่นเกมส์ฆ่าก็ดูเหมือนว่าเป็นแฟนตาซี ตัวเนื้อหาที่มีความรุนแรงก็มีแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรงมากขึ้น เพราะว่าทำให้เด็กเห็นสิ่งพวกนี้แล้วเกิดความเคยชิน ประเด็นที่ 2 ที่เราพูดกันน้อยคือ ตัวเกมส์มันเป็นส่วนที่ทำลายกระบวนการคิด เพราะว่าลักษณะเกมส์ในปัจจุบันมันเป็นเกมส์ที่เล่นในโลกออนไลน์ ถ้าเป็น

เมื่อก่อนมันเป็นออฟไลน์ คือเล่นกันอยู่ในบ้าน ในหมู่ครอบครัว เพราะงั้นมันไม่มีแนวโน้มที่จะอยู่ในกลุ่มขนาดใหญ่ การเล่นกับพ่อแม่เราจะรู้จักนิสัยใจคอ แต่ถ้าเราเล่นกับโลกออนไลน์ เราเล่นกับคนแปลกหน้าคนกลุ่มนี้จะมีอิทธิพลค่อนข้างมากขึ้น และมีการแชท การสนทนา ยิ่งเป็นเกมส์ที่มีความรุนแรงภาษาที่อยู่ในเกมส์จะมีความรุนแรง เพราะว่ามันเป็นการกำหนดไวยกรณ์และตัวไวยกรณ์ของเกมส์ก็คือตัวทำลายกระบวนการ เหตุผลในการเล่นเกมส์คือการพัฒนาทักษะ แต่จริงๆไม่ใช่มันคือการพัฒนาสัญชาตญานการโต้ตอบที่รวดเร็วเท่านั้นเอง ก็คือสมองไม่ได้มีช่วงเวลาในการคิด ประเด็นที่ 3 ถ้าพฤติกรรมการเปิดรับ เปิดรับเร็ว เปิดรับถี่ เล่นบ่อยๆ เปิดรับนาน พวกนี้ก็มีผลที่จะมีแนวโน้มความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับพ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างไร หรือแม้แต่กระทั้งเด็กคนนั้น ทักษะคิด วิจารณญานคิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นรึป่าว เป็นทุนของแต่ละคนที่ไม่เท่ากันและเกมส์มีอิทธิพลต่อคนไม่เท่ากัน

อาจารย์ธาม เผยต่ออีกว่า มีปัจจัยอีกอย่างก็คือพอเริ่มเข้าสู่เกมส์ออนไลน์ มันยกระดับความรุนแรงมากขึ้น ผมอ่านงานวิจัยสังคมวิทยา เจอว่า ผมไม่ได้อยากเล่นเกมส์รุนแรง แต่เพื่อนเค้าเล่นกันที่โรงเรียนเดี๋ยวเข้ากลุ่มไม่ได้ เพราะงั้นการเล่นเกมส์ความรุนแรง มันเป็นการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง เพราะเค้าต้องการการยอมรับ เพราะงั้นพฤติกรรมการเสพติดเกม พฤติกรรมที่มันเป็นเทรนในกลุ่มเนี่ย บางอย่างไม่ได้อยากทำหรอก เพียงแต่ถ้าไม่ทำมันไม่เข้ากลุ่มได้ พอเข้ากลุ่มไม่ได้ มันจะกลายเป็นถูก Bully

ดร.อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เด็กที่เล่นเกมส์แล้วมีพฤติกรรมความรุนแรงปัจจัยหลักอยู่ที่ พื้นฐานการเลี้ยงดูจากครอบครัว เพราะในสังคมปัจจุบัน คุณพ่อคุณแม่หลายครอบครัวไม่มีเวลาดูแลลูก ขาดการดูแลเอาใจใส่ เช่น บางครั้งลูกร้องไห้งอแง ก็โยน IPad ให้ลูก เพื่อต้องการให้ลูกเลิกงอแงและอยู่กับบ้าน ไม่ต้องไปพบเพื่อน นอกจากการทำเช่นนี้จะไม่ใช่วิธีที่ดีนัก อาจจะเป็นการส่งเสริมให้ลูกมีพฤติกรรมติดเกมส์มากขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจะดูแลเอาใจใส่ และใส่ใจวีธีการเลี้ยงลูกให้ถูกต้อง นอกจากปัจจัยจากครอบครัวแล้วยังมีเรื่องของเกมส์ที่ทำให้เด็กซึมซับความรุนแรง มุมมองและทัศนะคติในการเล่นเกมส์ของเด็ก หรือ ต้นทุนชีวิตที่แตกต่างกัน เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อพฤติกรรมความรุนแรง

ดร.อาร์ณีย์ ยังเผยอีกว่า มีงานวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาระบุว่า เด็กที่เล่นเกมส์ที่มีพฤติกรรมความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง จะมีแนวโน้มเป็นอาชญากรในอนาคต เพราะตามหลักอาชญาวิทยากล่าวว่าการเล่นเกมซ้ำๆอย่างต่อเนื่อง ทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ

เกมส์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนมีพฤติกรรมรุนแรงจริงไหม และ ผลกระทบของความรุนแรงที่เกิดจากเกมส์คืออะไร

(นายธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็ก และครอบครัว ม.มหิดล)

กฎหมายที่ใช้ลงโทษเยาวชนคืออะไร และ วิธีรับมือเด็กที่มีพฤติกรรมติดเกมส์อย่างรุนแรงมีวิธีใดบ้าง

( ดร.อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ม.รังสิต)

แบ่งปันบทความนี้