อาจารย์หมอจุฬาฯ ชี้การนำเสนอวิธีการฆ่าตัวตายในสื่อทำให้เกิดการเลียนแบบการฆ่าตัวตายมากขึ้นถึง 10 เท่า

0 1
Spread the love
Read Time:8 Minute, 6 Second

อาจารย์หมอ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้สื่อที่นำเสนอวิธีการฆ่าตัวตาย หรือออกข่าวผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย นั้นละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ส่วนเรื่องการบอกวิธีฆ่าตัวตายอย่างละเอียดทำให้เกิดการกระทำที่เกิดขึ้นคล้าย ๆ กัน ซ้ำ ๆ มากกว่าปีอื่น ๆ เป็น 10 เท่าโดยการใช้วิธีเดียวกัน

จากเมื่อปลายปีที่ผ่านมา จากการที่สื่อนำเสนอข่าวออกไป มีข่าวผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายราย ฆ่าตัวตาย  มีหลายคนสงสัยว่า การที่สื่อนำเสนอวิธีการจบชีวิต นั้นจะส่งผลถึงผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากน้อยเพียงใด เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนคิดว่าโรคซึมเศร้านั้นไม่มีจริงมันคือสารในสมองและสภาพแวดล้อม

อ.นพ.ชาวิท ตันวีระชัยสกุล

ทีมข่าว RNonline ได้มีสัมภาษณ์ อ.นพ.ชาวิท ตันวีระชัยสกุล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในประเด็นเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าโดยคุณหมอได้อธิบายความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ในเบื้องต้นว่า

       “ โรคซึมเศร้าถูกนับว่าเป็นโรค เพียงแต่ความเข้าใจโรคซึมเศร้านี่อาจจะยากหน่อยอารมณ์ซึมเศร้ามันเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ ก็คือทุกคนต้องมี ต้องเคยมีบ้างแหละที่เคยมีช่วงที่เศร้า ความแตกต่างระหว่างอารมณ์ปกติ กับอารมณ์ที่เป็นโรคซึมเศร้าความแตกต่าง ไม่ได้อยู่ที่คุณภาพอารมณ์ คือ ยังเศร้าเหมือนกันเพียงมันอยู่ที่ความรุนแรงของอารมณ์เศร้าต่างหากอย่างปกติเราเศร้าเราจะเจอการสูญเสีย ก็อาจจะเศร้าได้ก็อาจจะเศร้าได้เป็นหลายวัน หรือ หลายอาทิตย์ จริง ๆ ไม่นานไม่เกินอาทิตย์ด้วยซ้ำไปความเศร้ามักจะไม่ได้มีผลต่อเรื่องชีวิตมากนัก แต่ก็ต้องมีผลอยู่บ้างและก็สุดท้ายนี่คนเราจะปรับตัวและดำเนินชีวิตต่อไปได้ ”

นพ.ชาวิทกล่าวเพิ่มเติมว่า คนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้า ความเศร้าที่มีปริมาณมาก ความเศร้าที่เข้มข้นนี่มีอยู่นานตำราที่เราใช้ ณ ตอนนี้ก็คือปริมาณเกิน 2 สัปดาห์ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะนานมากกว่านั้น มักจะเป็นเดือน ความเศร้านี่มีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมากทั้งการดูแลตัวเองการเรียน หน้าที่การงาน เรื่องหน้าที่ทางสังคมต่าง ๆ มันก็จะเสียไปหมดเพราะความเศร้ามันรุนแรงและเป็นหนัก โดยอาจจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยอย่างเช่นเรื่องนอนไม่หลับ เวลาการทานอาหารเปลี่ยนไปอย่างเช่น ทานมากขึ้นหรือน้อยลง จนกระทั่งน้ำหนักเปลี่ยนแปลง ไม่มีสมาธิ ถึงขั้นมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือ คิดว่าโลกนี้ ไม่มีอะไรดี ไม่มีความหวัง ถ้ามีอาการพวกนี้ประกอบกัน ทำให้ซึมเศร้านี้ ไม่ปกติมันคือ โรค

อาจารย์หมอได้พูดถึงสารในสมองที่ใครหลาย ๆ คนเคยได้ยินเกี่ยวอะไรกับ สารสื่อประสาท เนื่องจากมันเป็นเรื่องของอารมณ์มันจับได้ยาก เราไม่สามารถวัดอะไรจากภายนอก แล้วบอกได้ว่านี่ คือ อารมณ์เป็นอย่างไร แต่วิทยาศาสตร์การแพทย์ในหลายที่ผ่านมาจริง ๆ ก็หลาย 10 ปีแล้ว ที่เราทราบว่า คนเป็นโรคซึมเศร้านี่มีสารเคมีในสมองที่มันเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะการที่เรียกว่า เซโรโทนิน คือการรักษาด้วยยา จึงมุ่งเน้นที่การรักษาเรื่องเซโรโทนินเป็นหลักก่อน

อาจารย์หมอก็ได้บอกอีกว่า การรักษาโรคซึมเศร้า ไม่ได้ใช้ยาเท่านั้น ก็ยังยังใช้วิธีอื่นร่วมด้วย

อย่างเช่นการทำจิตบำบัด การฟื้นฟูให้เขากลับไปใช้ชีวิตได้เร็วที่สุด การทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่มันจะช่วยทำให้เขาดีขึ้นได้

ในบางครั้งไม่อาจรู้เลยว่า ใครเป็นโรคซึมเศร้าบ้าง เพื่อน ๆ สามารถสังเกตคนรอบข้าง ได้จากอะไรบ้าง ว่า เขานั้นเป็นโรคซึมเศร้าหรือแค่เสียใจ ได้ไม่ยาก เราสังเกตว่าคนนึงเศร้าไม่ยากถูกไหม ฉะนั้นที่เหลือก็คือ ถ้าเขาเศร้าเป็นเวลานาน แล้วเขาเศร้าจนการทำหน้าที่ของเขาเปลี่ยนไป เช่น ถ้าเขาเคยเป็นคนที่อยู่กับกลุ่มเพื่อนได้ดี เขาแยกตัวออกมา เขาปฏิเสธที่จะไปทำกิจกรรมต่าง ๆ กับเพื่อน ๆ หรือคนเป็นคนมีเป้าหมาย แล้วต่อมาเขาทิ้งไปเลย จุดเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ เป็นตัวบ่งบอกว่า ความเศร้าของเขานั้นมันไม่ธรรมดา

“เพราะคนเราให้คุณค่าของแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน คนที่เป็นคนไข้โรคซึมเศร้าหรือว่าคนทั่วไปที่มีอาการซึมเศร้านี่ก็มักจะมีเหตุด้วยกันทั้งนั้น” นพ.ชาวิทกล่าว

สำหรับโรคซึมเศร้านั้น คุณหมอเปรียบเทียบว่าเหมือนโรคมะเร็งที่สามารถรักษาหายขาดได้ ไม่รักษาสารในสมองก็ทำลายสมองเราไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าถามว่าเขาสามารถใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไปได้ไหม อาจารย์หมอได้บอกกับว่า ถ้าไม่ได้รับการรักษาเขาก็ค่อนข้างเศร้า ก็คงดำเนินชีวิตได้ แต่คงไม่ได้เป็นชีวิตที่ปกติ  อีกมุมหนึ่งถ้าได้รับการรักษา  “จุดมุ่งหมายในการรักษาโรคซึมเศร้าคือหาย ไม่มีอาการหลงเหลืออยู่เลย ความรู้อีกอันหนึ่งที่จะต้องพูดก็คือ ตัวโรคซึมเศร้าเองทำธรรมชาติของโรคเองไม่ได้จะอยู่ทั้งชีวิต ถึงแม้ไม่รักษา ตัวมันเองนี่มักจะอยู่แล้วก็มักจะเป็นอยู่พักใหญ่หลายเดือนแล้วก็อาจจะหายได้  โดยในครั้งแรกที่เป็นนี่อาจจะเป็นไม่กี่เดือน อาจจะเป็นแค่ 3 เดือน หรือ 6 เดือน แล้วก็จะดีขึ้น คนไข้รู้สึก โอ๊ะ มันก็หายเองนี่ ก็ไม่ต้องรักษาก็ได้ แต่คนไข้ที่ไม่ได้รับการรักษานี่ก็มักจะกลับเป็นซ้ำ ก็อาจจะภายในปีนั้นหรืออีกปีหนึ่งเดี๋ยวก็เป็นใหม่

ทุกคนรู้หรือไม่ว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในปัจจุบันนั้นพบในกลุ่มไหนมากที่สุด คิดว่าหลาย ๆ คนคงเดาว่า น่าจะเป็น กลุ่มเด็กวัยรุ่น เลยถามอาจารย์หมอว่า กลุ่มคนที่เข้ามาปรึกษาจิตแพทย์อยู่ในช่วงวัยไหนมากที่สุด ก็พบว่า มีวัยรุ่นที่มาหาหมอ หรือมาที่โรงพยาบาล ไม่ได้มาด้วยโรคปัญหาซึมเศร้าก่อน แต่มาด้วยปัญหาการฆ่าตัวตายเลย อย่างเช่น คลินิกจิตวิทยาของมหาวิทยาลัย ซึ่งนักเรียน นักศึกษา เข้ามาปรึกษาปัญหาสภาวะอารมณ์ที่ไม่ปกติ หรืออารมณ์ซึมเศร้าเยอะขึ้นเป็นไปได้ว่า มันเป็นเรื่องรุ่นของคน  ไม่ได้บอกว่าคนสมัยก่อนเข้มแข็งมากจนไม่เศร้า มันไม่เกี่ยวกับเรื่องความเข้มแข็ง เพียงแต่เราคิดกันว่า ณ ตอนนี้มันเป็นการแก้ปัญหา หรือการแสดงออกทางอารมณ์ ที่มันทำให้คน แสดงออกว่า เป็นโรคซึมเศร้า แต่อย่างน้อยก็ยังดีที่เขาพยายามหาการช่วยเหลือ  “ถามว่า คนไข้เยอะขึ้นจริงมั้ย จริง โดยเฉพาะคนไข้อายุไม่เยอะ แต่ถามว่าเราไม่อยากให้มันหายหรือเปล่า มาหาก็ดีกว่าไปฆ่าตัวตาย เราไม่เคยได้รับการช่วยเหลือเลย”

หากว่า เพื่อนของเราหรือคนรอบข้างเป็น โรคซึมเศร้า เราสามารถพูดคุย ปฏิบัติตัวกับเขาอย่างไร เพื่อไม่ให้เขารู้สึกไม่ดี ? ถ้ามีคนรู้จักใกล้ชิดเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคือ การฟัง ถ้าเราตั้งใจฟัง อยากทราบ อยากเข้าใจปัญหาของเขาจริง ๆ คือพื้นฐานที่สุด “ ส่วนการพูดให้กำลังใจ สู้ ๆ นะ เธอทำได้อยู่แล้ว ใคร ๆ ก็ทำได้ ไม่ถึงกับผิด แต่ก็มีความเสี่ยง ที่จะทำให้เขาคิดไม่โอเคกับตัวเองเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นคำพูดที่ไม่จำเป็น ”

กลับไปที่พื้นฐานคือการฟัง ถ้าคิดว่าอยากช่วยเขา ก็แค่ฟัง หรือแนะนำว่า ถ้าเขายังรู้สึกหนักหน่วงใจที่ต้องไปพบหมอ หรือหาความช่วยเหลืออื่น ก็ช่วยพาเขาไปได้ ช่วยเหลือเขาในจุดนั้นจะมีประโยชน์กว่า

ทุกคนอยากรู้ไหมว่าอาชีพที่สุ่มเสี่ยง และพบเจอมากที่สุดคือ อาชีพอะไรบ้าง  และอาชีพไหนที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด?  ตัวอาชีพเองอาจจะบอกอะไรไม่ได้มากนัก แต่เราก็พบว่า หลายอาชีพก็มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าค่อนข้างมากที่เป็นห่วงตอนนี้ คือ ตำรวจ มีอัตราการฆ่าตัวตายค่อนข้างสูง 2 ด้าน อาจจะเป็นตัวอาชีพเองที่ทำให้เครียด และเป็นการเข้าถึงอาวุธปืนได้ง่าย ทำให้อัตราการฆ่าตัวตายสูง ตำรวจเป็นอาชีพที่ทุกคนพยายามสอดส่องดูแล ถัดมาเป็นอาชีพที่เลือกไม่ได้ว่าตัวเองจะต้องอยู่ที่ไหน เช่น อาชีพบริการต่าง ๆ หมอ พยาบาลในโรงพยาบาลก็มีความเสี่ยงสูง ในต่างประเทศก็อาจจะเป็นทันตแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง

อะไรที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นอยากฆ่าตัวตายมากขึ้น “ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ สื่อที่นำเสนอวิธีการฆ่าตัวตาย ไม่เหมาะสมในหลายระดับเลย แค่การออกข่าวว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย มันละเมิดสิทธิส่วนบุคคลพอสมควร กับอีกมุมหนึ่งคือ เรื่องการบอกวิธีฆ่าตัวตายอย่างละเอียดซึ่ง เราเห็นตัวเลขที่ค่อนข้างชัด ที่มีข่าวเรื่องรมควันฆ่าตัวตายในรถแล้วต่อมา มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคล้าย ๆ กัน ซ้ำ ๆ มากกว่าปีอื่น ๆ เป็น 10 เท่าโดยการใช้วิธีเดียวกัน ซึ่งถามว่าสื่อเหล่านี้ สื่อที่ออกมามีผลไหม ชัดเจนครับมีผล แล้วก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง”

อย่างตอนนี้ในปัจจุบันนี้ มีฝุ่น pm 2.5 ในปริมาณเยอะมาก ที่เคยมีข่าวออกมาว่า อาจจะทำให้ เราป่วยเป็นโรคซึมเศร้านั้น อาจารย์หมอได้บอกกับเราว่า “ ในทางการศึกษา ก็พบว่ามีความสัมพันธ์ไม่ได้แรงมาก อาจจะมีส่วนจริงแต่ว่ามันไม่ใช่ทุกคนที่จะรับฝุ่น จะต้องเป็นโรคซึมเศร้าไม่ถึงขนาดนั้น อาจจะเพิ่มความเสี่ยง คือ ฝุ่นมันไปเพิ่มระดับการมีระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มระดับการอักเสบในร่างกาย กับสิ่งที่เพิ่มขึ้นมันก็ไปทำลายสมองบ้างส่วน กับสมองที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้นะครับ

 

ชมวีดีโอเพิ่มเติ่มได้ที่นี้

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %
ติดตามเราผ่าน Social Media
Previous post นักวิชาการแนะการเอาใจใส่ในครอบครัวมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาเด็กติดเกมส์
Next post ผู้จัดการคาเฟ่แมว เผย แมวนั้นมีส่วนช่วยให้คลายเหงาได้