0 1

อาจารย์หมอจุฬาฯ ชี้การนำเสนอวิธีการฆ่าตัวตายในสื่อทำให้เกิดการเลียนแบบการฆ่าตัวตายมากขึ้นถึง 10 เท่า

อาจารย์หมอ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้สื่อที่นำเสนอวิธีการฆ่าตัวตาย หรือออกข่าวผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย นั้นละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ส่วนเรื่องการบอกวิธีฆ่าตัวตายอย่างละเอียดทำให้เกิดการกระทำที่เกิดขึ้นคล้าย ๆ กัน ซ้ำ ๆ มากกว่าปีอื่น ๆ เป็น 10 เท่าโดยการใช้วิธีเดียวกัน จากเมื่อปลายปีที่ผ่านมา จากการที่สื่อนำเสนอข่าวออกไป มีข่าวผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายราย ฆ่าตัวตาย  มีหลายคนสงสัยว่า การที่สื่อนำเสนอวิธีการจบชีวิต นั้นจะส่งผลถึงผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากน้อยเพียงใด เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนคิดว่าโรคซึมเศร้านั้นไม่มีจริงมันคือสารในสมองและสภาพแวดล้อม (more…)
0 0

กรมสุขภาพจิตเผยสถิติผู้ป่วยซึมเศร้าในไทยมีแนวโน้มฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นด้านผู้เชี่ยวชาญแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการเกิดโรค

กรมสุขภาพจิตเผย ในปี 2559 - 2560 มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั่วโลกประมาณ 322 ล้านคน และในไทย มีข้อมูลการสำรวจความชุกของโรคซึมเศร้าปี 2551 พบว่า มีคนไทยป่วยซึมเศร้า 1.5 ล้านคน ผู้หญิงเสี่ยงป่วยมากกว่าผู้ชาย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน (more…)
0 0

นักวิชาการสื่อ NIDA ชี้ สังคมจะดีได้ขึ้นอยู่ที่หน้าที่ความรับผิดชอบของสื่อ

รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ นิด้า เผยว่าสื่อควรมีประโยชน์ต่อสาธารณะ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและไม่ควรไปละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ ถึงแม้เขาจะเสียชีวิตไปแล้ว สื่อควรมีจรรยาบรรณต่ออาชีพ มีอุดมการณ์ที่ดีเพื่อสังคมและจะทำให้ประเทศเจริญขึ้นได้ [caption id="attachment_904" align="aligncenter" width="451"] ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  (นิด้า)[/caption]   จากเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์ RAMintouch ได้นำเสนอประเด็นข่าวเรื่องกรมสุขภาพจิตชี้การฆ่าตัวตายในสื่อ มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบไปแล้วนั้น (more…)
0 0

ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตชี้การนำเสนอภาพการฆ่าตัวตายในสื่อมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบมากยิ่งขึ้น

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ เผยว่า จากสื่อวิทยุโทรทัศน์หลาย ๆ ช่องได้มีการนำเสนอข่าว #การฆ่าตัวตาย ทำให้กลุ่มผู้ที่เปราะบางอยู่แล้วนั้นส่งผลไปกระตุ้นให้คนเลียนแบบการฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้น จากเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิตได้มีการกล่าวถึงประเด็นดังกล่าว โดยนพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการศึกษาทั่วโลกมีข้อมูลตรงกันว่าการฆ่าตัวตายเป็นพฤติกรรมที่มีความสลับซับซ้อน ไม่อาจจะบอกได้ว่ามาจากสาเหตุเดียว หรือมีความเครียด นั่นแปลว่าต้องมีความเครียดสะสมหลายอย่าง หากเป็นโรคซึมเศร้าก็ต้องมีสาเหตุอื่น ๆ ที่สะสมมาก่อน ทั้งนี้เมื่อเกิดเหตุฆ่าตัวตายขึ้นแล้วพบว่าความสูญเสียไม่ได้จบอยู่แค่นั้น แต่จะทำให้คนรอบข้างของผู้เสียชีวิต ญาติ เกิดความรู้สึกผิดว่าตัวเองมีส่วนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นหรือไม่ ทั้งที่จริง ๆ แล้วไม่ได้มีส่วนเลย แต่ก็จะโทษตัวเองอยู่อย่างนั้น บางคนอาจจะก้าวผ่านความรู้สึกสูญเสียและความรู้สึกผิดไปได้เมื่อเวลาผ่านไป แต่บางคนไม่สามารถก้าวผ่านได้ ต้องเป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องได้รับการเยียวยาต่อไป...