นักวิชาการสื่อ NIDA ชี้ สังคมจะดีได้ขึ้นอยู่ที่หน้าที่ความรับผิดชอบของสื่อ

0 0
Spread the love
Read Time:6 Minute, 3 Second

รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ นิด้า เผยว่าสื่อควรมีประโยชน์ต่อสาธารณะ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและไม่ควรไปละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ ถึงแม้เขาจะเสียชีวิตไปแล้ว สื่อควรมีจรรยาบรรณต่ออาชีพ มีอุดมการณ์ที่ดีเพื่อสังคมและจะทำให้ประเทศเจริญขึ้นได้

ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  (นิด้า)

 

จากเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์ RAMintouch ได้นำเสนอประเด็นข่าวเรื่องกรมสุขภาพจิตชี้การฆ่าตัวตายในสื่อ มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบไปแล้วนั้น

ทีมข่าวได้สัมภาษณ์ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  (นิด้า) เพื่อขอความเห็นในประเด็นดังกล่าว ซึ่งได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อ และการนำเสนอข่าวที่ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคม  “ ข่าวการฆ่าตัวตาย ปกติตามมาตราฐานของการรายงาน เขาจะพยายามลงรายละเอียดให้น้อยที่สุดนะครับ ไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือจะเป็นภาพก็ตามอันนี้เป็นพื้นฐานที่ไม่ว่าข่าวจะใช้เทคนิคหรืออะไรอย่างไร ควรจะทำให้น้อยที่สุด ”

ทั้งยังกล่าวว่า หน้าที่สื่อมวลชนมีแค่บอกว่า บุคคลคนนี้เสียชีวิตแล้วจากการฆ่าตัวตาย  โดยไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดวิธีการ ที่เป็นการละเมิดสิทธิ หรือว่าบอกข้อมูลมากเกินพอดี ก็ไม่ควรทำทั้งสิ้น การรายงานข่าว มีพื้นฐานก็คือ  “การให้ข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ของประชาชน ประโยชน์แก่สาธารณะ เพราะฉะนั้นอะไรที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ หรือนำไปสู่การเป็นโทษในเชิงลบต่อสาธารณะ พื้นฐานคือเราต้องไม่นำเสนอ”

 

การนำเสนอข้อมูลที่มากเกินไปนำมาสู่ทางออกที่คล้าย ๆ กัน คือ “การจบปัญหา”

คนที่มีอาการซึมเศร้า หรือมีความเสี่ยงในการที่จะฆ่าตัวตายอยู่แล้ว อาจจะไปกระตุ้น ทำให้เขารู้สึกว่าเขาหมกหมุ่นในเรื่องของความตาย แล้วยิ่งมีรายละเอียดรวมทั้งปัญหา  ก็เลยหาทางจะใช้คำนี้  “จบปัญหา”  “แก้ปัญหา” “หาทางออก” มันก็จะทำให้เขาตอกย้ำว่า พอเขามีปัญหา ต้องหาทางออก นี่เป็นวิธีหนึ่งในการหาทางออก  ยิ่งมีรายละเอียดมาก  มีภาพ มีกราฟิก หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เขาเห็นชัดเจน มันก็ยิ่งไปกระตุ้น เพราะฉะนั้นเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้นข่าว แบบนี้ต่างประเทศไม่มีออกมาเปิดเผย ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

ข่าวต้องไม่สร้างผลกระทบต่อผู้อื่น ควรจะเป็นประโยชน์สาธารณะ และ เป็น ประโยชน์ต่อผู้ชมเป็นหลัก เพราะฉะนั้น  ควรยึดจุดนี้ไว้ว่า  การนำเสนอข่าว  “ใครได้ประโยชน์อะไรบ้าง”  “มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นบ้าง” บางเรื่องอาจจะมีผลกระทบบ้างในบางกรณี แต่ว่าในสิ่งที่เกิดขึ้นต้องไม่มากกว่าประโยชน์ที่คนทั่วไปได้รับ ต้องคำนึงเอาไว้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ทุกคนมีสิทธิการเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน  ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม เช่น ผู้ต้องหา ผู้ที่ได้รับผลกระทบ เหยื่อ ครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองเท่ากันในฐานะความเป็นมนุษย์ เราไม่มีสิทธิไปละเมิดเขา ทำให้เขาดูเหมือนไม่เป็นมนุษย์ รวมทั้งผู้ที่ตายไปแล้วก็เหมือนกัน  ไม่ใช่ว่าเขาเสียชีวิตไปแล้ว เราจะเอามาทำอะไร ดูถูก ดูหมิ่น ดูแคลน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก และเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติอันนี้มีกฎหมายเฉพาะ กฎหมายคุ้มครองเด็ก ต้องยิ่งระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ก่อให้เกิดอะไรที่กระทบต่อไปในอนาคต เพราะฉะนั้นหลักการมันมีแค่นี้ หรือคิดง่าย ๆ  ว่าถ้าเป็นญาติคุณ  เป็นพ่อแม่คุณอยู่ในข่าวนี้ เป็นคนที่โดนยิงหรือว่าเป็นคนที่ร้องห่มร้องไห้เสียใจ คุณจะลงข่าวแบบนี้ไหม ถ้าเป็นลูกคุณ คุณจะลงข่าวแบบนี้ไหม คิดแค่นี้ก็พอ

 

ควรไหม ? ที่สื่อนำเสนอภาพเสมือนในการรายงานข่าว

 

ย้อนกลับไป หลักการเดิม ว่ามันควรไหม การทำแบบนี้มันเกิดอะไรบ้าง ประชาชนได้ข้อมูลที่จำเป็นไหม กลับมาว่าเขาจำเป็นต้องรู้ไหม  มีวิธีการถือมีดอย่างไร จ้วงแทงอย่างไร แล้วตายอย่างไร เลือดไหลอย่างไร จำเป็นต้องละเอียดขนาดอย่างนั้นไหม แล้วในการทำแบบนั้นมันเกิดผลดี ผลเสียอะไรบ้าง ทำให้ญาติเขาหรือคนรอบข้าง ที่ดูแล้ว เหมือนกับว่า ต้องดูการฆาตกรรมคนที่เขารัก ซ้ำ ๆ  โดนฆ่าตายไปครั้งหนึ่ง แต่สื่อขุดมาฆ่าซ้ำ ๆ ทุกวัน  ยิ่งเป็นคลิปนะครับ เกิดขึ้นตลอด ดูได้ตลอดเวลาเลย เพราะฉะนั้นมันก็เป็นการทำร้ายจิตใจของคนรอบข้าง  ทำร้ายจิตใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน คนที่เขาบริสุทธิ์ เขาไม่ได้ทำผิด แต่เขามาโดนแบบนี้  ต้องลองชั่งใจดูว่า มันจำเป็นที่ต้องบอกวิธีการฆ่าตัวตาย วิธีการฆาตกรรม บางทีสื่อแค่คิดว่า เรารายงานข้อมูล แต่ว่าข้อมูลที่เรารายงานข่าวไปนี่ มันมีผลกระทบ เพราะฉะนั้นเรื่องของประโยชน์ของประชาชน มันมากกว่าไหม ในบางกรณีอาจจะจำเป็นก็ได้ แต่มันต้องดูบางกรณีไปว่ามันต้องใช้ภาพที่รุนแรงเพื่อที่จะกระตุ้น เตือนให้คนให้คนตระหนัก หรือหยุดพฤติกรรมเหล่านี้

 

ฝากถึงนักศึกษา นักสื่อมวลชน…

ใครที่อยากจะก้าวเข้าเข้ามาสู่ในวงการ อาชีพนักข่าว คุณก็ต้องรู้ว่ามันไม่ใช่อาชีพทั่ว ๆ ไป มันเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีและมีหน้าที่ ที่ยิ่งใหญ่

“หมอรักษาคนได้ทีละคน ในแต่ละช่วงเวลาเขาก็ทำได้หลายคน แต่ว่านักข่าวสามารถฆ่าคนทีเดียวหลายคน โดยใช้ปากกาเป็นอาวุธ”  พิมพ์อะไรส่งผลกระทบอาจจะไม่ตายทันที แต่เขามีผลกระทบ แล้วนำไปสู่เหตุการณ์ต่าง ๆ  การลอกเลียนแบบอาชญากรรม หรือคุณจะทำให้ดีสร้างเรื่องที่ดีทำให้ประเทศชาติดีขึ้น เราตื่นเช้ามาทุกวัน เราเจอข่าวฆาตกรรม เจอข่าวไม่ดี ความรู้สึกจะเป็นอย่างไร ซึ่งเกิดความรู้สึกว่า โลกของเราสังคมเราไม่น่าอยู่ นักข่าวมีหน้าที่สำคัญมากในการที่จะช่วยให้ประเทศชาติเจริญ หรือต่ำลงก็ได้  เพราะว่า We are What we Whats คือ เราเป็นสิ่งที่เราดู ถ้าเราดูในสิ่งที่ดี รับชมในสิ่งที่ดีสมองเราความคิดเราจะดีขึ้น ถ้าเกิดเราดูในสิ่งที่มันไร้สาระทุกวัน เพราะมันไม่มีอะไรดู เราถูกยัดเยียดให้ดู เพราะฉะนั้นคนที่เป็นสื่อมวลชนถึงเรียกได้ว่า เป็นผู้ที่มีหน้าที่ที่สำคัญ

แต่ละคนมีจรรยาบรรณมีวิชาชีพ เราเคยคิดไว้ว่าตอนที่เราเรียน อยากจะเปลี่ยนแปลงสังคม เรามีอุดมการณ์ที่ดี การเป็นสื่อมวลชนก็เป็นโอกาสของคุณ  สิ่งที่คุณมีอยู่ในโอกาสนี้ทำให้สังคมดีขึ้นหรือเลวลงก็ได้  ดังนั้นจรรยาบรรณ ไม่มีความล้าสมัยไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างไร อย่าเอาเรื่องความเร็วการแข่งขันออนไลน์ ออฟไลน์ มาอ้างว่าออนไลน์จะหยาบ ๆ หรือต้องรีบด่วนเขียนไปก่อนแล้วค่อยมาแก้ไข มันไม่ใช่ข้ออ้างเพราะว่าแต่ละคนมีหน้าที่ในการที่จะช่วยกันสร้างประเทศชาติแล้วคุณก็คือหนึ่งในนั้นนักข่าวก็มีหน้าที่ที่สำคัญ

 

 

ชมวีดีโอเพิ่มเติมได้ที่นี่

ขอขอบคุณ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  (นิด้า)

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %
ติดตามเราผ่าน Social Media
Previous post “โคโรน่าไวรัส” ทำพิษส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวหลักซบเซา
Next post ผลสำรวจพบกรุงเทพฯ มีประชากรคนไร้บ้านมากที่สุดในประเทศร้อยละ 38