แอปพลิเคชันหาเพื่อน-หาคู่ อีกหนึ่งตัวช่วยคลายเหงา

นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้มีการเผยว่า แอปพลิเคชันหาเพื่อนนั้น ช่วยคลายความเหงาได้ 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปี 2020 นี้เป็นปีที่เข้าสู่ยุคอนาคตกันอย่างเต็มตัว เป็นยุคที่ผู้คนทั่วไปส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพื่อทำการติดต่อสื่อสารถึงกันและกัน และเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ รวมถึงองค์ความรู้ที่ทุกคนนั้นค้นคว้าหาข้อมูลกันอย่างไม่จำกัดผ่านอินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน

ปัจจุบันนี้สมาร์ทโฟนของของเรานั้นได้ถูกพัฒนาไปไกลมากแล้วจริงๆ รวมถึง “แอปพลิเคชัน” ที่ตอบโจทย์เราได้เกือบจะทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ตัวช่วยในการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่การหา “เพื่อนใหม่ๆ” เข้ามาในชีวิตก็ทำได้ง่ายขึ้นทุกวัน

จากการสำรวจพบว่ามีแอปพลิเคชั่นหาเพื่อนหาคู่ เพิ่มขึ้นมากมาย และจากการสำรวจของทีมสำลักข่าวพบว่ามีคนใช้แอปฯเหล่านี้เป็นจำนวนมาก โดยทีมสำลักข่าวได้จัดทำสถิติจากยอดดาวน์โหลด (download) มากที่สุดผ่าน app store และ google play store สืบค้นวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 ไว้ดังนี้

ยอดดาวน์โหลด ของ App store

1. Tinder 38,855 ราย

2. Badoo 7,853 ราย

3. Zoosk 795 ราย

4. Mamba 1,454 ราย

5. Jaumo 819 ราย

 

ยอดดาวน์โหลด ของ Google play store

1. Tinder 3,769,183ราย

2. Badoo 4,810,159 ราย

3. Zoosk 578,826 ราย

4. Mamba 557,727 ราย

5. Jaumo 1,137,797 ราย

ทุกวันนี้เราจะเห็นผู้คนใช้แอปฯหาเพื่อน หาแฟนได้ง่ายจากรายชื่อแอปฯที่เราได้ทำการสรุปมาเพื่อใช้คลายความเหงา หรือบรรเทาให้ความเหงาที่มีมากในตัวบุคคลนั้นลดลงไปได้บ้าง อาจจะเพราะความเครียดจากงาน ไม่มีคนข้างกายไว้ให้คอยปรึกษาเรื่องต่างๆ ผู้คนถึงหันหน้ามาหาตัวช่วยหาเพื่อนผ่านแอปฯเหล่านี้

แต่อย่างไรก็ดี ไม่ว่าต่อให้แอปฯหาเพื่อนเหล่านี้จะมีประโยชน์มากขนาดไหนก็ตาม มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย เพราะช่องทางการหาเพื่อนหาแฟนได้อย่างง่ายดายนี้ ทำให้เป็นแหล่งรวมของเหล่ามิจฉาชีพที่จะใช้แอปฯเหล่านี้หาผลประโยชน์ให้ตัวเองกันมากพอสมควร

ไม่ว่าจะหลอกขายของจนไปถึงการล่วงละเมิดทางเพศ ทีมข่าวของเราจึงได้ทำการสัมภาษณ์นักศึกษา “มหาวิทยาลัยรามคำแหง” ที่ได้ใช้แอปฯหาเพื่อน เพื่อให้เห็นถึงประโยชน์และโทษของการใช้แอปฯอย่างผิดวิธี เพื่อที่จะได้เป็นเครื่องเตือนใจของใครหลายๆคน

จากการสุ่มสัมภาษณ์นักศึกษามหาวิยาลัยรามคำแหงบางส่วน พบว่านักศึกษากลุ่มนี้มีความเหงา และความอยากหาอะไรแก้เบื่อทำ จึงใช้บริการแอปฯหาเพื่อน และส่วนใหญ่จากคนที่ให้สัมภาษณ์นั้น นิยมใช้แอพฯ tinder มากที่สุด

ซึ่งนายนำชัย สุทธิมาลย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ให้สัมภาษณ์ถึงประโยชน์ของแอปฯหาเพื่อนไว้ว่า “เดี่ยวนี้เริ่มเล่นในหลายรูปแบบ ในเมื่อเรามีประสบการณ์ เราเกิดในกรุงเทพฯ มีความรู้เรื่องของสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่ต่างๆในกรุงเทพเป็นอย่างดี เราก็สามารถหารายได้จากแอปฯนี้(ไม่ประสงค์บอกชื่อแอปฯ) นั่นก็คือ เราสามารถนำนักท่องเที่ยวที่มาจากที่อื่น(ต่างประเทศ) เข้ามาคุยกับเราในแอปฯนี้ แล้วเราก็บอกเขาไปว่า เราสามารถพาเขาเที่ยวได้นะ ซึ่งเราสามารถทำตรงนี้เป็นงานได้เลย ไปเที่ยวนู่นนี่นั่น แล้วก็จะได้ค่าจ้างในการนำเที่ยวไป”

และข้อเสียของแอปฯหาเพื่อนเหล่านี้คงเป็นเรื่องของการเหยียดเพศหรือถูกหลอก เอารัดเอาเปรียบ เช่นเดียวกันกับที่ ผู้ให้สัมภาษณ์หญิง 2 คนได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า พอนัดเจอก็ถูกหลอกให้เลี้ยงข้าว จนไปถึงการที่คุยไปนานๆแล้วก็แสดงอาการหื่นใส่

อย่างไรก็ดีแอปฯเหล่านี้มีทั้งคุณและโทษในตัวของมันเหมือนดาบสองคม แต่อันที่จริงแล้วแอปพลิเคชั่นหาคู่นี้ทำให้คลายเหงาได้จริง และไม่ได้มีผลเสียโดยตรงเพียงแต่เป็นช่องทางอีกช่องทางหนึ่งที่พวกมิจฉาชีพนั้นใช้เพื่อหลอกลวงคนอื่น เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองฝ่ายเดียว

แบ่งปันบทความนี้