กรมสุขภาพจิตเผยสถิติผู้ป่วยซึมเศร้าในไทยมีแนวโน้มฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นด้านผู้เชี่ยวชาญแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการเกิดโรค

กรมสุขภาพจิตเผย ในปี 2559 – 2560 มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั่วโลกประมาณ 322 ล้านคน และในไทย มีข้อมูลการสำรวจความชุกของโรคซึมเศร้าปี 2551 พบว่า มีคนไทยป่วยซึมเศร้า 1.5 ล้านคน ผู้หญิงเสี่ยงป่วยมากกว่าผู้ชาย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน
อาจารย์ด้านจิตวิทยาชี้ปัญหาทางด้านจิตใจและสังคมคือสิ่งที่ทำให้คนมีพฤติกรรมบูลลี่ผู้อื่น

อาจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ให้ข้อมูลสาเหตุของคนที่มีพฤติกรรม Bully ผู้อื่น โดยพื้นฐานแล้วมีปัจจัยมาจากปัญหาทางด้านจิตใจและสังคม และยังเผยอีกว่า การที่เราจะบูลลี่คนอื่นได้ยังมีในเรื่องของทฤษฎีเรื่องของการตกเป็นเหยื่อ หรือทฤษฎีวัฏจักรความรุนแรง
ลุงดำ สุชิน เอี่ยมอินทร์ จากคนเร่ร่อนเข้าสู่นายกสมาคมคนไร้บ้านตลิ่งชัน หวังผลักดันเรียกร้องสิทธิให้คนไร้บ้านหวังความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

นาย สุชิน เอี่ยมอินทร์ หรือที่เราเรียกว่า ลุงดำ ปัจจุบันเป็นนายกสมาคมคนไร้บ้าน ประกอบอาชีพเก็บของเก่าขาย ลุงดำ เป็นคนกรุงเทพมหานคร บ้านอยู่พุทธมณฑลสายสาม ลุงดำเป็นคนไร้บ้านตั้งแต่ปี พ.ศ.2544เมื่อก่อนได้ประกอบอาชีพเป็นช่างไม้ตกแต่งภายใน โดยมีนายจ้างเป็นนายทุนญี่ปุ่น แต่เวลาผ่านไปนายจ้างเกิดภาวะขาดทุนเลยต้องกลับประเทศ ลุงดำจึงกลายเป็นคนว่างงานโดยได้เงินงวดสุดท้ายเป็นเงินจำนวน 2000 บาท หลังจากนั้นก็ได้กลับบ้านมาตั้งหลักเพื่อที่จะหางานใหม่แต่อยู่ได้ไม่นาน ลุงดำก็หนีออกจากบ้านเพราะไม่อยากเป็นภาระของครอบครัวโดยไปอาศัยอยู่ที่สนามหลวงลุงดำเลยกลายเป็นคนไร้บ้านตั้งแต่นั้นมา เวลาผ่านไปงานก็หาไม่ได้เงินที่ได้มาจากงานที่เก่าก็หมดลง แต่ก็ได้มีคนไร้บ้านคนหนึ่งแนะนำอาชีพให้ลุงดำคือเก็บของเก่าขาย เช่น ขวดน้ำ กระดาษ ฯ เดิมทีลุงดำไม่อยากที่จะทำอาชีพนี้แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างเพื่อความอยู่รอดของตัวเองจึงต้องทำ ในระหว่างที่ลุงดำเก็บของเก่าขายก็ได้มีการไปสมัครอาชีพ รปภ. แต่ก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้เพราะอายุเกิน และวุฒิการศึกษาไม่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด กิจวัตรประจำวันตอนเป็นคนไร้บ้าน ลุงดำจะตื่นเวลา 6 โมงเช้าไปช่วยงานที่วัดบวรเพราะจะได้ข้าวได้อาหารมาประทังชีวิต ส่วน 6 โมงเย็นต้องไปหาของเก่าขายและจะกลับมานอนที่สนามหลวงตอนตี 1 ถึง ตี 2 และถึงแม้ว่าชีวิตในช่วงนั้นจะลำบากแต่ลุงดำก็มีน้ำใจในการแบ่งข้าวแบ่งปันสิ่งของให้กับคนไร้บ้านคนอื่นๆ จนวันนึงหลวงตาที่รู้จักก็ได้ให้ปัจจัยจำนวน 500 บาท เพื่อให้ลุงดำไปลงทุนประกอบอาชีพแต่ทำได้ไม่นานก็โดนเทศกิจมาจับริบสินค้าจนต้องเลิกขาย คนไร้บ้านนั้นยังมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกทั้งยังมีการขโมยทรัพย์สินคนไร้บ้านด้วยกันเองแบบโจ่งแจ้ง ทั้งยังต้องคอยหลบเทศกิจที่มาจับหรือไล่ที่ และในช่วง APAC ได้มีการกวาดล้างคนไร้บ้านรวมถึงสุนัขเร่ร่อน พาไปอยู่วิวัฒน์พลเมือง เขาใหญ่ ทั้งคนไม่สมประกอบ […]
แพทย์เผย 9 วิธีรับมือเมื่อถูกกลั่นแกล้ง

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลกรุเทพ เผย 9 วิธีรับมือเมื่อเด็กถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียน โดยย้ำว่าปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กในระยะยาว ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีกี่ยุคสมัย การรังแกหรือกลั่นแกล้งกันก็ยังคงไม่เลื่อนหายไปจากสังคมโลก โดยเฉพาะน้องๆ วัยรุ่นวัยเรียนรู้ หลายครั้งที่เราเห็นเหตุการณ์การรังแกหรือล้อเล่นกันเกินเลยไปจนถึงการทําร้ายตัวเอง สาเหตุมาจากเรื่องเล่นๆ ที่ไม่เล่นอย่างการบูลลี่หรือการรังแกกลั่นแกล้ง เมื่อการแก้ไขปัญหาการบูลลี่ให้หมดไปไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งที่เราต้องทำคือควรมีวิธีรับมืออย่างไรเมื่อเราหรือคนใกล้ตัวถูกบูลลี่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS จึงได้จัดกิจกรรมเพื่ออบรมให้ความรู้ แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู ที่โรงเรียนทอสี ในหัวข้อ “คำพูดสร้างสรรค์ สร้างสังคมน่าอยู่ ไม่บูลลี่ในเด็ก” เพื่อเป็นการสานต่อโครงการ “Shared Kindness คำพูดสร้างสรรค์ สร้างสังคมน่าอยู่” รณรงค์ลดการทำร้ายจิตใจผ่านคำพูด สนับสนุนการส่งต่อคำพูดสร้างสรรค์ในสังคมไทย นพ.กมล แสงทองศรีกมล ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า “ในมุมของผู้ใหญ่ เรามักจะมองว่าการกลั่นแกล้งกันในเด็ก เป็นเรื่องเด็กเล่นกัน เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ในมุมของเด็กที่ถูกกระทำ ถูกกลั่นแกล้งนั้น เป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับเขา เพราะเด็กต้องเจอกับปัญหาเดิมๆ ซ้ำๆ ทุกๆ วัน เราควรจะต้องทำความเข้าใจกันใหม่ว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก และสามารถส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กได้ในระยะยาว นพ.กมล แสงทองศรีกมล ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ฝาก “เคล็ดไม่ลับ 9 วิธีรับมือ เมื่อเด็กๆถูกกลั่นแกล้งที่โรงเรียน” ทำความเข้าใจว่าการกลั่นแกล้งคืออะไร การทำความใจว่าการกลั่นแกล้งคืออะไร เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจปัญหาของผู้กระทำและผู้ถูกกระทำมากขึ้น กล้าที่จะพูดหรือแสดงความไม่พอใจต่อผู้กระทำ หลายครั้งที่ปัญหาการกลั่นแกล้งเกิดขึ้นกับบุคคล บุคคลหนึ่งมาอย่างยาวนาน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ถูกกระทำ ไม่กล้าที่จะพูด […]
ผลสำรวจพบกรุงเทพฯ มีประชากรคนไร้บ้านมากที่สุดในประเทศร้อยละ 38

ผลสำรวจพบกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีคนไร้บ้านมากที่สุดในประเทศที่ร้อยละ 38 รองลงมานครราชสีมาร้อยละ 5 ส่วนเชียงใหม่ร้อยละ 4 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานแถลงข่าวในหัวข้อ เสวนาคนไร้บ้าน ณ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยในวันงานนั้นมีผู้ร่วมแถลงผลการสำรวจแจงนับคนไร้บ้านและการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายจากการแจงนับคือ นาย อนรรฆ พิทักษ์ธานิน ผู้จัดการแผนงานพัฒนาองค์ความรู้คนไร้บ้านฯ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนางสาว นพพรรณ พรหมศรี เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยเวทีเสวนาสาธารณะและผลการสำรวจแจงนับคนไร้บ้านสู่การขยายผลเชิงปฏิบัติการและนโยบาย ในส่วนของผู้ร่วมเสวนา มี 6 คน คือ นายสำเนียง สิมมาวัน ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและคุณภาพชีวิต กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายอุเทน ชนะกุล ผู้อำนวยการกองคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมคุณภาพชีวิต กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ นางภรณี ภู่ประเสริฐ อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. นางสาวพรรณทิพย์ เพชรมาก รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน นายสุชิน เอี่ยมอินทร์ นายกสมาคมคนไร้บ้าน และนายนันทชาติ หนูศรีแก้ว ผู้แทนเครือข่ายการสำรวจแจงนับคนไร้บ้าน นายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน […]
นักวิชาการสื่อ NIDA ชี้ สังคมจะดีได้ขึ้นอยู่ที่หน้าที่ความรับผิดชอบของสื่อ

รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ นิด้า เผยว่าสื่อควรมีประโยชน์ต่อสาธารณะ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและไม่ควรไปละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ ถึงแม้เขาจะเสียชีวิตไปแล้ว สื่อควรมีจรรยาบรรณต่ออาชีพ มีอุดมการณ์ที่ดีเพื่อสังคมและจะทำให้ประเทศเจริญขึ้นได้ จากเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์ RAMintouch ได้นำเสนอประเด็นข่าวเรื่องกรมสุขภาพจิตชี้การฆ่าตัวตายในสื่อ มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบไปแล้วนั้น
“โคโรน่าไวรัส” ทำพิษส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวหลักซบเซา

อัพเดตสถานการณ์ล่าสุดไวรัสโคโรน่าสายพันธุใหม่ยังคงแพร่ระบายในประเทศจีนและขยายวงกว้างไปอีกกว่า 27 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ส่งผลให้การท่องเที่ยวหลักของไทยลดลง จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ 2019 ( COVID-19) ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน ทำให้จีนปิดเมืองอู่ฮั่นตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563 ทำให้นักท่องเที่ยวจีนไม่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ จากการลงพื้นที่ในจุดที่ทัวร์นักท่องเที่ยวไปลงเป็นประจำ หลักๆจะมีที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สนามหลวงและสี่แยกห้วยขวางบริเวณศาลพระพรม ซึ่งปกติจะมีนักท่องเที่ยวเยอะเป็นพิเศษบริเวณที่เที่ยวจะมีร้านค้าต่างๆมากมายมีทั้งร้านที่ขายอยู่เป็นประจำและบางร้านเป็นรถเข็นเร่ขาย และยังมีไกด์นำเที่ยวที่ค่อยให้บริการนักท่องเที่ยวหากนักท่องเที่ยวต้องการจ้างไกด์เป็นกรณีส่วนตัว รวมทั้ง การให้บริการของ วินมอเตอร์ไซค์ และ ตุ๊กๆ อีกด้วย จากการสัมภาษณ์ ของร้านค้าต่างๆในสถานที่ท่องเที่ยว”วัดพระแก้ว” ได้ข้อมูลว่าตั้งแต่มีข่าวการแพร่เชื้อของไวรัส ”โคโรน่า”ที่ผ่านมาตั้งแต่การแพร่เชื้อที่ยังไม่รุ่นแรงจนถึงปัจจุบันนี้ที่สถานการณ์รุ่นแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นักท่องเที่ยวที่มาเริ่มน้อยลงเรื่อยๆโดยเฉพาะชาวต่างชาติ ที่เห็นได้ชัด โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนที่นิยมเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ในส่วนของนักท่องเที่ยวที่เข้าชมวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวังนั้น เจ้าหน้าที่ได้ให้สัมภาษณ์ว่าปกติแล้วจะมีนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมวันละ 8,000 – 10,000 คน แต่ตอนนี้นักท่องเที่ยวหายไปมากกว่าครึ่ง เหลือเพียงแค่นักท่องเที่ยวบางส่วนที่เพิ่งเข้ามาในไทย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศฝั่งยุโรป ส่วนนักท่องเที่ยวจีนนั้นแทบจะไม่เหลือแล้ว ซึ่งการที่นักท่องเที่ยวลดน้อยลงนั้นเป็นผลมาจาก “ไวรัสโคโรน่า” ที่กำลังระบาดอยู่ในตอนนี้ทำให้ทางการจีนประกาศห้ามประชาชนในบางเมืองของประเทศที่มีการประกาศปิดเมืองเดินทางออกนอกประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวจีนหายไป 2.4 ล้านคน […]
แม่ค้าหน้าราม เผย วาเลนไทน์นี้ “ดอกกุหลาบ” ขายดีสุด

ร้านค้าหน้าม.รามฯ เผยวาเลนไทน์นี้ “ดอกกุหลาบ” ขายดีสุด วันวาเลนไทน์ปีนี้พบว่าร้านค้าหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ดอกกุหลาบขายดีที่สุด รองลงมา สติกเกอร์รูปหัวใจและช็อกโกแลต จากการสุ่มสำรวจร้านค้าหน้าราม 5 ร้าน พบว่าในร้านค้าที่ขายของขวัญช่วงวันวาเลนไทน์ “ดอกกุหลาบขายดีที่สุด” ไม่ว่าจะเป็น กุหลาบกล่องหรือกุหลาบช่อ ขายให้กับบุคคลทั่วไป ผู้ชายวัยทำงาน และดอกกุหลาบดอกเล็กๆ ดอกละ 10 – 20 บาท ส่วนใหญ่ขายให้กับ เด็กนักเรียนมัธยมทั้งชายหญิง พร้อมเผยอีกว่า ช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ปีนี้แย่มากๆ ปีที่แล้วยังพอขายได้ ช่วงเวลาขายได้ก็จะเป็นช่วงเช้านักเรียนมาซื้อ ตอนเย็นก็จะมีบ้างเป็นวัยรุ่นวัยทำงาน ทั้งนี้ จากการสุ่มสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงในช่วงวันวาเลนไทน์ ต่างบอกว่า วาเลนไทน์นี้ไม่เหงาเพราะ วัยรุ่นในช่วงอายุ 20-35 ปี ใช้เวลาว่างไปกับการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ออกไปทำกิจกรรมต่างๆกับเพื่อนฝูง และรู้สึกเฉยๆกับวันวาเลนไทน์ นายสกล ช่อดอก อายุ 34 ปี ให้สัมภาษณ์ว่า “วันวาเลนไทน์ก็คือวันธรรมดาวันหนึ่ง เพราะวันอื่นๆก็เหงาได้เหมือนกัน ไม่จำเป็นว่าต้องมีคู่หรือไม่มี ทุกๆคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับเราสามารถทำให้เราเหงาได้ […]
ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตชี้การนำเสนอภาพการฆ่าตัวตายในสื่อมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบมากยิ่งขึ้น

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ เผยว่า จากสื่อวิทยุโทรทัศน์หลาย ๆ ช่องได้มีการนำเสนอข่าว #การฆ่าตัวตาย ทำให้กลุ่มผู้ที่เปราะบางอยู่แล้วนั้นส่งผลไปกระตุ้นให้คนเลียนแบบการฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้น จากเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิตได้มีการกล่าวถึงประเด็นดังกล่าว โดยนพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการศึกษาทั่วโลกมีข้อมูลตรงกันว่าการฆ่าตัวตายเป็นพฤติกรรมที่มีความสลับซับซ้อน ไม่อาจจะบอกได้ว่ามาจากสาเหตุเดียว หรือมีความเครียด นั่นแปลว่าต้องมีความเครียดสะสมหลายอย่าง หากเป็นโรคซึมเศร้าก็ต้องมีสาเหตุอื่น ๆ ที่สะสมมาก่อน ทั้งนี้เมื่อเกิดเหตุฆ่าตัวตายขึ้นแล้วพบว่าความสูญเสียไม่ได้จบอยู่แค่นั้น แต่จะทำให้คนรอบข้างของผู้เสียชีวิต ญาติ เกิดความรู้สึกผิดว่าตัวเองมีส่วนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นหรือไม่ ทั้งที่จริง ๆ แล้วไม่ได้มีส่วนเลย แต่ก็จะโทษตัวเองอยู่อย่างนั้น บางคนอาจจะก้าวผ่านความรู้สึกสูญเสียและความรู้สึกผิดไปได้เมื่อเวลาผ่านไป แต่บางคนไม่สามารถก้าวผ่านได้ ต้องเป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องได้รับการเยียวยาต่อไป
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) กับคนไร้บ้าน

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. ทำหน้าที่อะไรบ้าง แม้ พอช. จะไม่ได้ทำหน้าที่ดูแลคนไร้บ้านโดยตรง แต่ก็เป็นหน่วยงานที่ช่วยเหลือคนจนทุกประเภทให้มีที่อยู่อาศัยแม้กระทั่งคนไร้บ้าน พอช. เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีหน้าที่ช่วยเหลือสนับสนุนกลุ่มคนที่ตกหล่นจากการช่วยเหลือขององค์กรเอกชน และองค์กรหน่วยงานภาครัฐ เช่น ผู้ที่อยู่ในชุมชนแออัด ชุมชนบุกรุก ชุมชนที่อยู่ในที่ดินผู้อื่น ตลอดจนกลุ่มผู้ที่ไม่มีความมั่นคงทางที่อยู่อาศัย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ พอช. เป็นผู้ประสานงานส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานอื่นๆที่รับผิดชอบร่วมกันในด้านนี้ อย่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นหน่วยงานรัฐ มีหน้าที่สนับสนุนด้านงบประมาณ พื้นที่ที่อยู่อาศัย ให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ประวัติ พอช. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 เป็นองค์กรของรัฐตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่อมาในเดือนตุลาคม 2545 ได้ย้ายมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ […]