กรมสุขภาพจิตเผยเด็กไทยรังแกกันในโรงเรียนติดอันดับ 2 ของโลก

 

กรมสุขภาพจิตเผยการใช้ความรุนแรง การข่มเหงรังแกกันหรือการบูลลี่ของเด็กในโรงเรียนไทยติดอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศญี่ปุ่น 

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2561 ขณะนี้สถานการณ์การรังแกกันในโรงเรียนมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น และไม่ใช่ปัญหาเล็กน้อยอย่างที่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เข้าใจ เด็กที่รังแกกันมีตั้งแต่ระดับอนุบาล และที่น่าห่วงคือ ขณะนี้เด็กเข้าถึงสื่อโซเซียลง่าย พ่อแม่และครูมีเวลาให้เด็กน้อย เด็กเรียนรู้ความรุนแรงจากเกม สื่อต่างๆ และไปใช้กับเพื่อน

น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวและให้ข้อมูลผลการสำรวจในโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด พบว่า มีเด็กถูกรังแกในสถานศึกษาปีละประมาณ 6 แสนคน ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในอันดับ 2 ของโลก ที่มีสัดส่วนนักเรียนถูกรังแกจากเพื่อนนักเรียนด้วยกันสูงถึงร้อยละ 40 รองจากญี่ปุ่น ขณะที่ในปี 2553 การสำรวจนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศพบว่าร้อยละ 33 เคยรังแกผู้อื่นทางออนไลน์ อีกร้อยละ43 บอกเคยถูกคนอื่นรังแก นอกจากระดับความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นแล้ววิธีการกลั่นแกล้งก็เปลี่ยนไปจากในอดีตที่เคยใช้ เช่น การล้อเลียนชื่อพ่อแม่ การเรียกชื่อสมมติหรือปมด้อยของเพื่อน พฤติกรรมดังกล่าวเหล่านี้เป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้ในการกลั่นแกล้ง แต่สำหรับในปัจจุบัน สื่อ (Media) และเทคโนโลยี (Technology) มีบทบาทสำคัญและเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของคนในยุคปัจจุบัน สำหรับในประเทศไทย พบว่า กลุ่มเยาวชนมากกว่าร้อยละ 50 มีพฤติกรรมกลั่นแกล้งผ่านโลกไซเบอร์และคุกคามผู้อื่นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

ในช่วงปี 2562 ยังมีข่าวเรื่องการ Bully ที่มีผลกระทบร้ายแรง ออกมาอีกหลายเคส หรือ แม้แต่คนดัง ก็ยังมีพฤติกรรม Bully ผู้อื่น และ ในปัจจุบันการ Bully ในสังคมก็ยังมีอยู่และดูเหมือนจะมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น กรณีของ เด็ก ม.1 ยิงเพื่อนตาย เพราะถูกล้อ , เด็ก ป.5 ผูกคอฆ่าตัวตาย ผู้ปกครองเชื่อทำเพราะถูกแกล้ง , เด็ก ม.6 โดดตึกตาย หลังโดนล้อว่าอ้วน , สาวโดนเพื่อนทั้งห้องกลั่นแกล้ง หมั่นไส้ได้เกรดสูงกว่า เป็นต้น 

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 ได้มีการจัดการเสวนาหัวข้อ “BULLYING” กลั่นแกล้ง ความรุนแรงที่รอวันประทุ” จัดโดยเครือข่ายปกป้องเด็กและเยาวชน เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชน สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “บลูลี่ กลั่นแกล้ง ความรุนแรง ในสถานศึกษา” โดยผลสำรวจพบว่า เด็กกว่า ร้อยละ 91 เคยถูกบูลลี่ ร้อย 43 คิดจะตอบโต้เอาคืน ส่วนวิธีที่ใช้บูลลี่ คือ การตบหัว ร้อยละ 62.07 รองลงมา ล้อบุพการี ร้อยละ 43.57 พูดจาเหยียดหยาม ร้อยละ 41.78 และอื่นๆ เช่น นินทา ด่าทอ ชกต่อย ล้อปมด้อย พูดเชิงให้ร้าย เสียดสี กลั่นแกล้งในสื่อออนไลน์ นอกจากนี้ เด็กๆ ร้อยละ 68.93 มองว่า การบูลลี่ ถือเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่งเสี่ยงที่จะนำไปสู่ผลกระทบที่รุนแรงขึ้น และเด็กๆยังต้องการให้ทางโรงเรียนมีบทลงโทษที่ชัดเจน มีครูให้คำปรึกษา จัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจ

มูลนิธิยุวพัฒน์ ให้ความหมายของคำว่า Bully คือ การกลั่นแกล้ง (Bullying) หมายถึง พฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม โดยพฤติกรรมนั้นเป็นความตั้งใจกระทำให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์ความเจ็บปวด เพื่อให้ตนเองรู้สึกมีอำนาจ หรือมีพลังเหนือกว่าผู้อื่น อีกทั้งการกระทำดังกล่าวจะเกิดขึ้น ซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องและมีระยะเวลายาวนาน แต่ในบางครั้งการกระทำเหล่านั้นเราก็กระทำไปโดยที่ไม่รู้ตัว เช่น การพูดล้อเล่น ล้อเลียน คิดว่าเป็นเพียงเรื่องสนุก แต่แท้จริงแล้วคำพูดเหล่านั้นไม่ใช่แค่การล้อเล่นที่คิดว่าเป็นเรื่องสนุกสนาน แต่เป็นการกลั่นแกล้งที่สร้างแผลให้กับฝ่ายที่ถูกล้อจนเกิดเป็นปมภายในใจ โดยในทางจิตวิทยาแล้ว คนที่มีพฤติกรรมแบบนี้ มักมีปมด้อยในใจ จึงต้องเติบโตมาแบบนี้ ไม่ใช้แค่เพียงครอบครัวที่ไม่ดูแลเอาใจใส่เท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย 

โดยพฤติกรรมเหล่านี้หากเป็นเมื่อก่อนคงมองว่ามักเกิดขึ้นกับในช่วง วัยเด็กหรือวัยรุ่น แต่จริงๆแล้วแม้แต่ผู้ใหญ่เองก็ยังมีพฤติกรรมบูลลี่ผู้อื่น  

โดยการ Bully มีหลายประเภท ดังนี้ 

ประเภทของการ Bully

 

แบ่งปันบทความนี้