นักวิจัย ทีดีอาร์ไอ เผยผลสำรวจพบผู้ที่มีรายได้ขั้นต่ำสามารถขึ้นได้แค่รถเมล์ร้อน

บริเวณสวนจตุจักร

บริเวณสวนจตุจักร

นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ชี้จากการสำรวจสำมะโนประชากร ปี 2560 ประชาผูู้มีรายขั้นต่ำยังไม่สามารถใช้บริการขนส่งสาธารณะได้ครบทุกประเภท

 คุณณิชมน ทองพัฒน์ นักวิจัย ฝ่ายนโยบายขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยว่า “ทางศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยได้ศึกษาสำรวจสำมะโนประชากรของประเทศไทยในเขตกรุงเทพมหานครจากการสุ่มสำรวจประชากรแล้วก็ได้มีเอามาเรียงตามรายได้แล้วจัดเป็นกลุ่ม 10 กลุ่มตั้งแต่ 1 คือน้อยที่สุดจนถึง 10 ที่มากที่สุดซึ่งกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ในครัวเรือนจะมีคนทำงานสัก 1 คน ก็จะเรียกบุคคลที่อยู่ในกลุ่มนี้ว่าเป็นบุคคลที่มีรายได้ขั้นต่ำต่อวัน เราก็จะเอามาลองเทียบระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กลุ่มของครัวเรือนเขาต้องใช้มีกี่เปอร์เซ็นต์และดูค่าใช้จ่ายของเขาในเรื่องการเดินทางว่าเปอร์เซ็นต์ที่เขาใช้สำหรับการขนส่งไม่ว่าจะเดินทาง ยังไงก็ตามเอามาคิดเปรียบเทียบก็จะทราบว่ากลุ่มนี้พวกเขาขึ้นได้แค่รถเมล์ร้อน ยิ่งเป็นรถเมล์ปรับอากาศหรือรถไฟฟ้ายิ่งขึ้นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ณ ปัจจุบันการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2560 ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถใช้บริการได้ครบทุกประเภทขนส่งสาธารณะ”

     ณิชมน เผยต่อว่า “การคิดค่าโดยสารก็ขึ้นอยู่กับภาครัฐต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดรัฐเลือกที่จะสนับสนุนได้แค่ไหนถ้าเป็นรถโดยสารด้วยความที่ต้นทุนในการที่จะลงทุนก่อสร้างแทบจะไม่ต้องทำอะไรแล้วเพราะมันเป็นถนนรัฐก็แทบจะไม่ต้องทำอะไรแล้วแต่รัฐควรจะต้องทำป้ายรถโดยสารแต่ที่ผ่านมาก็ไม่ได้ลงทุนอะไรมากมายกับป้ายรถเมล์ถ้าป้ายมันดีแล้วจะรู้สึกสะดวกกว่านี้แต่ทุกวันนี้เห็นเลยว่าเป็นป้ายรถเมล์บางป้ายแทบจะไม่รู้ว่าเป็นป้ายรถเมล์ ส่วนการดำเนินงานรัฐก็ให้เอกชนก็ให้ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็น ขสมก. หรือเอกชนที่ปัจจุบันจะมีร่วมบริการทั้งแบบเดินรถเองได้ด้วยพวกนี้เขารับผิดชอบไปก็คือว่าเรามีต้นทุนในการที่จะเดินลดเท่าไหร่เดินรถไปเพื่อหารายได้ในแต่ละวันมาชดเชยกับต้นทุนที่มันเกิดขึ้นในเรื่องของรถเมล์เรื่องของการอุดหนุนทางภาครัฐที่ผู้ประกอบเทียบกับรายได้ที่ได้ในแต่ละวันผลวิเคราะห์ออกมารถเมล์เองผู้ประกอบการก็ยังถือว่ามีกำไรอยู่เราใช้สิ่งที่เรียกว่า fabrication ก็คือว่าได้เทียบกับต้นทุนเฉพาะต้นทุนที่เป็นการดำเนินงานของผู้ประกอบการผู้ประกอบการก็คือ ขสมก.คนที่มีกิจการที่ต้องเดินรถถ้าเป็นรถเมล์มันยังมีสัดส่วนที่เรียกได้ว่าเกิน 1ถ้าเกิดว่ามันเท่ากับ 1 หรือเกิน 1 ขึ้นไปแสดงว่าเขาคุ้มทุนจนถึงขั้นยังมีกำไรอยู่เพราะฉะนั้นในปัจจุบันการเก็บค่าโดยสารแบบที่ผ่านมายังไม่คิดแบบระบบใหม่คิดเป็นระบบกัน 8 บาท 10 บาท 13 บาท 15 บาทเขาก็ยังเรียกว่ายังมีกำไรอยู่ให้เหมาะสมกับการเดินรถของเขา”

  เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมาองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เขาประกาศตามมติที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางพิจารณาเรื่องการปรับปรุงค่าอัตราค่าโดยสารประจำทางเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะต้นทุนตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2562 เป็นต้นไป

ถ่ายเมื่อ 10 มีนาคม 2563 บริเวณหน้าโรงแรมแลงคาสเตอร์

‌     องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) มีการปรับขึ้นค่าโดยสารรถโดยสารสาธารณะทุกประเภทได้แก่รถโดยสารของ ขสมก. รถโดยสารประจำทางที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (รถเมล์ NGV) ของ ขสมก. รถร่วมบริการ ขสมก. ในกรุงเทพฯและปริมณฑล รถโดยสารของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และรถโดยสารร่วมบริการของ บขส. ที่มีการปรับขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา

‌    สำหรับอัตราค่าโดยสารรถประจำทางที่จะให้ปรับขึ้นราคาประกอบด้วยรถเมล์ ขสมก. และรถร่วมบริการปรับขึ้นในอัตรา 1 บาทโดยรถเมล์ร้อนจากเดิม 9 บาทเป็น 10 บาทและรถเมล์ ขสมก. จากเดิม 6.50 บาท เป็นไม่เกิน 10 บาทส่วนรถปรับอากาศเพิ่มระยะ 1 บาทจากเดิม 11-23 บาทต่อเที่ยวเป็น 12-24 บาทต่อเที่ยว สำหรับรถเมล์ปรับอากาศใหม่เช่นรถเมล์ NGV จากเดิมเก็บในอัตรา 11-23 บาทต่อเที่ยวเป็น 4 กม.แรก 15 บาท 5-16 กม. 20 บาทและ 16 กม.ขึ้นไป 25 บาทส่วนรถเมล์ร้อนใหม่สามารถเก็บอัตราค่าโดยสารได้ถึง 12 บาท‌

แบ่งปันบทความนี้