นักวิชาการจิตวิทยา ม.รามฯ แนะใช้แอปพลิเคชันแก้เหงาต้องระวังอาจเสี่ยง Cyber bully

รองหัวหน้าภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิยาลัยรามคำแหง แนะนำให้ระมัดระวังการใช้แอปพลิเคชันเพื่อคลายเหงา โดยเฉพาะปัญหาเรื่อง Cyber bully และ Cyber crime ชี้ทางออกที่ดีคือการพบปะผู้คนโดยตรง หรือ “Make contact” จะช่วยคลายเหงาดีกว่าการพูดคุยผ่านแอปพลิเคชัน

จากการเปิดเผยข้อมูลงานวิจัยของ อาจารบุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาดวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำแบบทดสอบระดับความเหงา UCLA Loneliness Scales ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา มาทดสอบกลุ่มตัวอย่างคนไทย จำนวน 1,126 คน พบว่าปัจจุบันตัวเลขคนเหงาในประเทศไทย มีจำนวนสูงถึงกว่า 26.57 ล้านคน จากจำนวนประชากรรวมของไทย 66.4 ล้านคน คิดเป็น 40.4%โดยกลุ่มผู้มีภาวะความเหงาสูงสุดได้แก่ วัยทำงาน 49.3% วัยรุ่นวัยเรียน 41.8% วัยผู้ใหญ่ 33.6% และผู้สูงอายุ 24.5%

ในประเด็นนี้ อาจารย์ปิยพงศ์ แซ่ตั้ง รองหัวหน้าภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสภาวะความเหงาไว้ว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์เองเป็นสัตว์สังคมที่ต้องการจะเข้าสังคมต้องการที่จะปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มันก็เลยทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความเหงา”

คำว่าอยู่คนเดียวบางคนก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องทุกข์ทรมานใจอะไร การอยู่คนเดียวอาจจะเป็นคนรักสันโดษพอใจที่จะอยู่คนเดียวได้ แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไม่ได้ตอบสนองความต้องการทางสังคมของเรา เราอาจจะมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจนรู้สึกพึงพอใจแล้ว เพราะฉะนั้นการทำงานหรือบทบาทบางอย่างที่ทำให้เขาต้องอยู่คนเดียว มันไม่ได้ทำให้เขารู้สึกว่า “เหงา”

ความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมหรือความต้องการทางสังคมมันคือความต้องการพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ มนุษย์เกิดมานั้นไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ สังคมแรกคือครอบครัว ถัดมาก็เพื่อนบ้าน ชุมชน โรงเรียน แล้วก็ที่ทำงาน ทุกที่ล้วนเป็นสังคมหมดไม่มีมนุษย์คนไหนที่เกิดมาแล้วบอกกับตัวเองว่า “ฉันจะอยู่คนเดียวแล้วฉันก็ตายไปคนเดียว” เพราะฉะนั้นไม่มีใครให้คุณค่าของความเหงาหรือไม่มีใครอยากจะเหงาแน่นอน

 

แอปพลิเคชันหาเพื่อนต้องระมัดระวัง Cyber bully

Application หรือเทคโนโลยีมันก็ช่วยให้เราหายเหงา แล้วทำไมยังมีคนเหงาอยู่เต็มไปหมด ทำไมงานวิจัยถึงยังฟ้องออกมาว่ามีคนเหงาถึง 2 ใน 3 ก็เพราะว่าจริง ๆ แล้วมันไม่ได้ช่วยให้คนหายเหงาอย่างแท้จริง application มันเป็นแค่การสร้างโอกาสให้คนปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นก็จริง แต่มันไม่ได้สร้างสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง สังคมสมัยนี้รูปแบบความสำคัญมันเปลี่ยนไปแล้ว การพบปะผู้คนการสร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ในยุคไทยแลนด์ 1.0 2.0 มันคือการไปร่วมประเพณีลอยกระทง การก่อทรายเข้าวัดวันสงกรานต์ ไปเจอคน ไปสร้างควาสัมพันธ์ใหม่ ๆ ตอบสนอง Social need แบบนั้น

แต่เทคโนโลยีก็แฝงมาด้วยภัยความอันตรายจาก Cyber bully หรืออาชญากรรมทาง Cyber อาชญากรประเภทนี้อาจจะอยู่ที่ไหนของโลกใบนี้ก็ได้ คนที่ตกเป็นเหยื่อของคนกลุ่มนี้ คือคนที่ขาด Social need ขาดทักษะทางสังคม ไม่รู้เท่าทันก็เลยตกเป็นเหยื่อของคนอื่นได้ง่ายซึ่งทางออกของความเหงานั้นมีมากมาย แต่ถ้าพูดถึงสัตว์เลี้ยงคลายเหงานั้นไม่ได้มีแค่แมวเหมือนที่ใครหลายคนเข้าใจแน่นอน แต่มันรวมไปถึงสัตว์ทุกชนิด ทางออกของความเหงาบางคนแค่มีสัตว์เลี้ยงมันก็ช่วยให้หายเหงาได้

มนุษย์น่าจะตอบสนองความต้องการทางสังคมนี้ได้ดีกว่า เพราะส่วนหนึ่งแล้วมันมีงานวิจัยที่บอกไว้ว่า Mirror Neuron ที่เรียกว่าเซลล์ประสาทเรือนกระจกที่มันทำให้มนุษย์มีความเห็นอกเห็นใจกันสงสาร รู้สึกอยากช่วยเหลือคนอื่นนั้นเอง แต่ก็มีบางคนที่ เซลล์ปราสาทเรือนกระจกบกพร่อง ทั้งที่ไม่รู้ว่าเป็นเพราะพันธุกรรมหรือว่าเซลล์สมองบางส่วนเสียหาย ก็จะเกิดการสงสารคนอื่นไม่เป็น ทำร้ายคนได้โดยไม่รู้สึกผิดพวกนี้จะเป็นพวกต่อต้านสังคมพวกอาชญากร ที่ก่อเหตุโดยไม่มีความสงสารผู้อื่น หรือไม่มีความเห็นอกเห็นใจคน

 

นักวิชาการชี้ “Make Contact” หรือการพยายามอยู่กับคนอื่น มีส่วนช่วยคลายเหงาได้ดี

อาจารย์ ปิยพงศ์ แซ่ตั้ง รองหัวหน้าภาควิชาจิควิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิยาลัย รามคำแหง ได้สรุปไว้แนวทางการช่วยทำให้คนเรานั้นหายเหงาได้ดีที่สุดก็คือ การ “Make contact”  การติดต่อกับผู้คนสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น อย่าอยู่คนเดียว ยิ่งเหงายิ่งทำตัว “Social isolation”

 

วัยรุ่นใช้แอปหาเพื่อนช่วยคลายเหงาแต่ระมัดระวังตัวเองไม่ให้ตกเป็นเหงื่อการคุกคามทางเพศ

จากการสัมภาษณ์นักศึกษามหาวิยาลัยรามคำแหงบางส่วน พบว่านักศึกษากลุ่มนี้มีความเหงา และความอยากหาอะไรแก้เบื่อทำ จึงใช้แอปฯหาเพื่อน และส่วนใหญ่จากคนที่ให้สัมภาษณ์นั้น นิยมใช้แอพฯ Tinder มากที่สุด

น.ส. พีรญา เผือกวิสุทธิ์ หนึ่งในผู้ใช้แอป Tinder เช่นกัน ยอมรับว่าใช้แอปฯ นี้เวลาที่รู้สึกเบื่อ ไมได้ใช้หาแฟนหรือว่าอะไร บางทีก็ช่วยคลายเครียดได้ แต่ก็คอยระมัดระวัง และมีวิจารณญาณในการคัดกรอกคนที่คุยด้วย ดังนั้นเวลาจะคุยกับใครสักคนนึงก็จะต้องไปดูโปรไฟล์เขาในโซเชียลมีเดียอื่นด้วยก่อน เช่น เฟซบุ๊ก หรือ อินสตาแกรม แต่ถ้าไม่ให้ก็จะไม่คุยไปเลยเพราะดูไม่น่าไว้ใจ ดังนั้นก็จะไม่เจอพวกมิจฉาชีพที่มาหลอกลวง แต่ก็เจอบ้างที่ช่วงแรก ๆ ดี แต่สักพักก็หื่นเราก็บล็อกไป

ในส่วนของนายนำชัย สุทธิมาลย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ให้สัมภาษณ์ถึงประโยชน์ของแอปฯหาเพื่อนไว้ว่า “เดี่ยวนี้เริ่มเล่นในหลายรูปแบบ ในเมื่อเรามีประสบการณ์ เราเกิดในกรุงเทพฯ มีความรู้เรื่องของสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่ต่างๆในกรุงเทพเป็นอย่างดี เราก็สามารถหารายได้จากแอปฯนี้(ไม่ประสงค์บอกชื่อแอปฯ) นั่นก็คือ เราสามารถนำนักท่องเที่ยวที่มาจากที่อื่น(ต่างประเทศ) เข้ามาคุยกับเราในแอปฯนี้ แล้วเราก็บอกเขาไปว่า เราสามารถพาเขาเที่ยวได้นะ ซึ่งเราสามารถทำตรงนี้เป็นงานได้เลย ไปเที่ยวนู่นนี่นั่น แล้วก็จะได้ค่าจ้างในการนำเที่ยวไป”

ทั้งนี้จากการสำรวจใน Google Play พบว่าแอปพลิเคชัน Tinder มีการดาวน์โหลดมากกว่า 3.7 ล้านครั้ง

 

แบ่งปันบทความนี้