ผลสำรวจพบกรุงเทพฯ มีประชากรคนไร้บ้านมากที่สุดในประเทศร้อยละ 38

 

เสวนาคนไร้บ้าน

ผลสำรวจพบกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีคนไร้บ้านมากที่สุดในประเทศที่ร้อยละ 38 รองลงมานครราชสีมาร้อยละ 5 ส่วนเชียงใหม่ร้อยละ 4 

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานแถลงข่าวในหัวข้อ เสวนาคนไร้บ้าน ณ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยในวันงานนั้นมีผู้ร่วมแถลงผลการสำรวจแจงนับคนไร้บ้านและการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายจากการแจงนับคือ นาย อนรรฆ พิทักษ์ธานิน ผู้จัดการแผนงานพัฒนาองค์ความรู้คนไร้บ้านฯ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนางสาว นพพรรณ พรหมศรี เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยเวทีเสวนาสาธารณะและผลการสำรวจแจงนับคนไร้บ้านสู่การขยายผลเชิงปฏิบัติการและนโยบาย

ในส่วนของผู้ร่วมเสวนา มี 6 คน คือ นายสำเนียง สิมมาวัน ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและคุณภาพชีวิต กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายอุเทน ชนะกุล ผู้อำนวยการกองคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมคุณภาพชีวิต กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ นางภรณี ภู่ประเสริฐ อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. นางสาวพรรณทิพย์ เพชรมาก รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน นายสุชิน เอี่ยมอินทร์ นายกสมาคมคนไร้บ้าน และนายนันทชาติ หนูศรีแก้ว ผู้แทนเครือข่ายการสำรวจแจงนับคนไร้บ้าน

นายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน ผู้จัดการแผนงานพัฒนาองค์ความรู้คนไร้บ้านฯ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แถลงอภิปรายข้อมูลสถิติจากภาพรวมทางประชากรคนไร้บ้านทั้งประเทศ คนไร้บ้านทั้งในพื้นที่สาธารณะและศูนย์พักคนไร้บ้านแบบเปิดของทั้งภาคประชาสังคมและภาครัฐ ( บ้านอิ่มใจ กรุงเทพมหานคร ) มีจำนวนทั้งสิ้น 2,719 คน พบคนไร้บ้านในพ้นที่ของทุกจังหวัดในประเทศ อันสะท้อนให้เห็นถึงภาวะเปราะบางทางเศรษฐกิจและสังคมที่ขยายตัวนอกจากเมืองใหญ่

จากข้อมูลจากกรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดที่มีคนไร้บ้านมากที่สุดโดยคิดเป็นร้อยละ 38 รองลงมา คือ นครราชสีมาร้อยละ 5 เชียงใหม่ร้อยละ 4 สงขลาร้อยละ 4 ชลบุรีร้อยละ 3 และ ขอนแก่นร้อยละ 3 เป็นต้น

คนไร้บ้านร้อยละ 57 เป็นวัยแรงงานตอนปลาย ( อายุ 40-59 ปี ) คนไร้บ้านร้อยละ 18 เป็นผู้สูงอายุ ( อายุ 60 ปีขึ้นไป ) วัยแรงงานร้อยละ 23 ส่วนวัยอื่นๆร้อยละ 2
คนไร้บ้านในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากกว่าสัดส่วนของทั้งประเทศอย่างมาก คือ สัดส่วนผู้สูงอายุภาคกลางร้อยละ 26 และสัดส่วนผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 23

คนไร้บ้านที่มีความพิการที่เห็นได้ชัดประมาณร้อยละ 4 โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนของคนพิการมากกว่าสัดส่วนของทั้งประเทศเกือบหนึ่งเท่าตัว ( ร้อยละ 8 )

จำนวนคนไร้บ้าน แบ่งออกเป็น เพศชายร้อยละ 86 และเพศหญิงร้อยละ 14

ข้อค้นพบที่สำคัญ คือ คนไร้บ้านสูงอายุมีสัดส่วนการอยู่ตัวคนเดียวมากกว่าคนไร้บ้านในช่วงอายุอื่น คิดเป็นร้อยละช่วงอายุ วัยรุ่นอยู่ตัวคนเดียวร้อยละ 12.9 วัยแรงงานอยู่คนเดียวร้อยละ 52.6 วัยแรงงาน ( ตอนปลาย ) อยู่ตัวคนเดียวร้อยละ 52.2 และวัยสูงอายุอยู่ตัวคนเดียวร้อยละ 60.3 ส่วนคนไร้บ้านเพศหญิงมีลักษณะการอยู่กับครอครัว/คู่ชีวิต หรืออยู่ร่วมกับคนไร้บ้านอื่นๆมากกว่าคนไร้บ้านเพศชาย โดยเพศชายอยู่กับครอบครัว/คู่ชีวิตหรืออยู่ร่วมกับคนไร้บ้านอื่นร้อยละ 42 เพศหญิงอยู่กับครอบครัว/คู่ชีวิต หรืออยู่ร่วมกับคนไร้บ้านอื่นๆร้อยละ 59 และกลุ่มไม่ทราบเพศอยู่กับครอบครัว/คู่ชีวิตหรืออยู่ร่วมกับคนไร้บ้านอื่นๆร้อยละ 45

ประเด็นคนไร้บ้านอาจจะไม่ใช่ปัญหาในตนเองหากแต่คนไร้บ้านสะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ของปัญหาทางสังคม ทั้งความเหลื่อมล้ำทางสังคม ปัญหาความยากจน หลักประกันทางสังคมที่ไม่เพียงพอและปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เป็นเงื่อนไขให้คนกลุ่มหนึ่งเข้าสู่ภาวะไร้บ้าน

ด้าน นางสาวนพพรรณ พรหมศรี เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย กล่าวเสริมว่าบนเวทีเสวนาสาธารณะและผลการสำรวจแจงนับคนไร้บ้านสู่การขยายผลเชิงปฏิบัติการและนโยบาย เป็นผู้จัดการนำเสนอข้อมูลว่าด้วยเริ่มต้นจากความร่วมมือในการทำงานของหน่วยต่างๆทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และคนไร้บ้าน มีขั้นตอนในการสำรวจตามจุดและหาข้อมูลจากคนในพื้นที่ทั้งจาก โรงพยาบาล ตลาด วัด สวนสาธารณะ หลังจากได้ข้อมูลก็จะมีการประชุมทีมสำรวจพร้อมปฏิบัติการสำรวจโดยจะสำรวจให้จบในคืนเดียว ช่วงเวลาสำรวจคือสามทุ่มถึงเที่ยงคืนและสรุปผลการสำรวจพิกัดจุดคนไร้บ้าน สรุปข้อมูลแต่ละเส้นทางและภาพรวมรายพื้นที่


  โดยมีองค์กรภาคีที่เข้าร่วมการแจงนับคนไร้บ้านทั้งประเทศ 86 องค์กร/หน่วยงาน
องค์กรภาคีที่เข้าร่วมการแจงนับคนไร้บ้านกรุงเทพมหานครและปริมนฑล
1.สมาคมคนไร้บ้าน
2.เครือข่ายสลัม 4 ภาค
3.เครือข่ายชุมชนรถไฟสายใต้-ตะวันตก
4.เครือข่ายชุมชนพระราม 3
5.เครือข่ายชุมชนเพื่อการพัฒนา
6.เครือข่ายชุมชนก้าวหน้า
7.เครือข่ายคนไร้บ้าน
8.กลุ่มพัฒนาชุมชนใต้สะพาน
9.ศูนย์รวมพัฒนาชุมชน
10.สหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ
11.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
12.สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13.ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ แรงงานนอกระบบ
14.สำนักงานโครงการบ้านมั่นคง
15.สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร
16.ศูนย์คุ้มครองครองคนไร้ที่พึ่ง
17.กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
18.กลุ่มปฎิบัติงานคนจนเมือง
19.สมาคม นธส.
องค์กรภาคีที่เข้าร่วมการแจงนับคนไร้บ้านภาคเหนือ
1.Knowrecord Team
2.กลุ่มเพื่อนรวมงาน
3.สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต
4.บ้านเตื่อมฝัน ( กลุ่มคนไร้บ้านเชียงใหม่ )
5.กรีนเรนเจอร์
6.บ้านนานา
7.องค์กรแพลนอินเตอร์ ประเทศไทย
8.ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ
9.สำนักข่าวประชาธรรม
องค์กรภาคีที่เข้าร่วมการแจงนับคนไร้บ้านภาคกลาง
1.ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสาคร
2.สหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ จ.นครสวรรค์
3.เครือข่ายองค์กรชุมชนเมืองอุตรดิตถ์
4.คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
5.คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
6.เครือข่ายองค์กรชุมชน จังหวัดพิจิตร
7.ศิษย์เก่าชมรมศึกษาปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
8.เครือข่ายบ้านมั่นคงชุมชนเมืองนครสวรรค์
9.เครือข่ายเกษตรอินทรีย์จ.นครปฐม
10.นักศึกษาภาควิชาสังคมศาสตร์ฯ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
องค์กรภาคีที่เข้าร่วมการแจงนับคนไร้บ้านภาคใต้
1.เครือข่ายพัฒนาสิทธิชุมชนภาคใต้
2.เครือข่ายสิทธิพัฒนาภูเก็ต
3.มหาวิทยาลัยทักษิณ
4.เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง จ.พังงา
5.เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง จ.ภูเก็ต
6.คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัยสุราษฎร์ธานี
7.คณะศิลปศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
8.สหพันเกษตรกรภาคใต้
องค์กรภาคีที่เข้าร่วมการแจงนับคนไร้บ้านภาคตะวันตก
1.เครือข่ายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคตะวันตก
2.เครือข่ายผู้ติดเชื้อภาคตะวันตก
3.เครือข่ายงดเหล้าภาคตะวันตก
4.สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ
5.สภาคริสตจักรความหวังใหม่ กาญจนบุรี
องค์กรภาคีที่เข้าร่วมการแจงนับคนไร้บ้านภาคตะวันออก
1.กลุ่มเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก
2.มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน
3.ศูนย์ประสานงานภาคีการพัฒนาจังหวัดชลบุรี
4.ท้องถิ่น เมืองพัทยา
5.ศูนย์มหาไถ่ พัทยา
6.ศูนย์ประสานงานภาคีการพัฒนาจังหวัดระยอง
7.ขบวนสภาองค์กรชุมชน จังหวัดชลบุรี
8.วงดนตรี อุ่นไอ วัยเยาว์ บ้านอำเภอ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
9.สหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ จันทบุรี
10.มูลนิธิรวมหยดน้ำเป็นสายธาร
11.เทศบาลตำบลเกาะขวาง
12.กลุ่มรักษ์เขาใหญ่ จังหวัดปราจีนบุรี
13.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ภาคกรุงเทพและปริมณฑล และตะวันออก
14.ศูนย์ประสานงานการพัฒนาจังหวัดตราด
15.เทศบาลเมืองจันทนิมิตร
องค์กรภาคีที่เข้าร่วมการแจงนับคนไร้บ้านภาคอีสาน
1.เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง จ.อุบลราชธานี
2.เครือข่ายพัฒนาชุมชนเมืองสุรินทร์
3.ชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา ม.ขอนเเก่น
4.มหาวิทยาลัยขอนเเก่น
5.เครือข่ายฟื้นฟูประชาสร้างสรรค์ จ.ขอนเเก่น
6.กลุ่มโฮมสุข (เครือข่ายคนไร้บ้าน จ.ขอนเเก่น)
7.กลุ่มเพื่อนฅนไร้บ้าน
8.คณะทำงานขับเคลื่อนเพื่อเเก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน จ.ขอนเเก่น
9.ชมรมนักศึกษาเพื่อประชาชนมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
10.เครือข่ายครูข้างถนน จ.อุดรธานี
11.กลุ่ม MovMovClubUdon
12.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (โหนด จ.หนองบัวลำภู)
13.มหาวิทยาลัยนครพนม
14.หน่วยจัดการร่วม สสส. (โหนด จ.นครพนม)
15.คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
16.ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดหนองคาย
17.ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ
18.เครือข่ายปฎิรูปที่ดินภาคอีสาน
19.กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซบาย
20.กลุ่มซันตาครอสข้างถนน จ.นครราชสีมา

https://www.youtube.com/watch?v=FJPt4YcUfRU

https://www.youtube.com/watch?v=W5LRh_Vtcr0&t=162s

 

แบ่งปันบทความนี้