ภาษีน้ำตาล

ภาษีความหวาน: การเก็บภาษีเพื่อสุขภาพกับความพยายามแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของคนไทย

เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไตเสื่อม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 
เหล่านี้เคยถูกมองว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นตามวัยและมีเพียงผู้สูงอายุเท่านั้นที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

แต่ในปัจจุบันผู้ป่วยด้วยอาการเหล่านี้มีมากขึ้นและเกิดกับคนที่อายุน้อยลง

โดยสาเหตุหลัก ๆ เกิดมาจากพฤติกรรมการบริโภค

อาหารรสหวานจัด เค็มจัด หรือมันจัด เป็นอาหารยอดนิยมของคนไทยเพราะรสชาติอร่อยและถูกปาก

แต่ผลกระทบของมันนั้นไม่ได้มีเพียงการเพิ่มของน้ำหนักตัว

 

แต่ยังเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ

ที่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยแย่ลง

และค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ภาษีความเค็ม ที่กำลังพูดถึงในขณะนี้

 

ไขมันทรานส์ คืออะไร ?

ทำความเข้าใจหลังไทยห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่ายแล้ว

สุนัขดมกลิ่นน้ำตาลในเลือด ช่วยชีวิตเจ้าของป่วยเบาหวาน 3,500 ครั้ง

การปรับขึ้นภาษีน้ำตาลกำลังจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 2562

โดยกรมสรรพสามิต ถือว่าเป็นหนึ่งในมาตรการที่จะช่วยปรับพฤติกรรมการบริโภคของคนไทย

ถึงแม้ว่าภาครัฐ จะปรับภาษี – ขึ้นราคาสินค้า

ทำลายสุขภาพเพื่อให้คนไทยหันมาบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น

แต่การปรับขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลักในภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง

ก็ก่อให้เกิดคำถามว่า ภาครัฐต้องการส่งเสริมสุขภาพหรือต้องการได้เงินเพิ่มมาก

 

ขึ้นกันแน่

 

ภาษีความหวาน

คนไทยบริโภคน้ำตาลมากถึง 20 ช้อนชาต่อวัน

ซึ่งสูงเกินมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ไม่เกิน 6 ช้อนชา

จนเป็นที่มาของการที่คนไทยมากกว่า 5 ล้านคน

ป่วยเป็นโรคเบาหวานและต้องได้รับการรักษาไปตลอดชีวิต

เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการบริโภคน้ำตาลเกินขนาด

สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปท.) มีมติเห็นชอบเสนอจัดเก็บภาษีสรรพสามิต

ในเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล อาทิ น้ำอัดลม ชาเขียว กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำผลไม้

โดยเริ่มทำการเก็บภาษีตามขั้นบันไดทุก ๆ 2 ปี มาตั้งแต่ ปี 2559 เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับตัว

น้ำอัดลมImage copyrightGETTY IMAGES

 

ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา

ผู้ประกอบการผลิตเครื่องดื่มสูตรน้ำตาลน้อยหรือน้ำตาล 0 เปอร์เซ็นต์

ออกมามากขึ้นเพราะไม่ต้องจ่ายภาษีตัวนี้

ทั้งนี้อัตราการจัดเก็บภาษีช่วง 2 ปีแรก

บังคับใช้วันที่ 16 ก.ย. 2560 ถึง 30 ก.ย. 2562

ในกลุ่มเครื่องดื่มน้ำผลไม้ และน้ำพืชผัก

หากมีน้ำตาลไม่เกิน 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร หรือครึ่งลิตร ไม่เสียภาษี

อัตราการเก็บภาษีความหวานปี 2560 – 2562

ปริมาณน้ำตาล (กรัม/100 มล.)    เสียภาษี (บาท/ลิตร)

6 – 8        0.30

10 – 14   0.50

14 ขึ้นไป      1

สุขภาพ : สตรีวัยทองมีไขมันสะสมที่ต้นขาดีกว่าที่หน้าท้อง

5 ปัจจัยส่งผลต่อน้ำหนักตัว

พอมาถึงช่วงที่สอง เริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. 2562 ถึง 30 ก.ย. 2564

จะเพิ่มอัตราการเก็บภาษีต่อเครื่องดื่ม 100 มิลลิลิตรมากยิ่งขึ้น

โดยเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลไม่เกิน 10 กรัม ยังคงเดิม

แต่เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 กรัม จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 4 เท่าตัว

อัตราการเก็บภาษีความหวานปี 2562 – 2564

ปริมาณน้ำตาล (กรัม/100 มล.)    เสียภาษี (บาท/ลิตร)

10 – 14   1

14 – 18   3

18 ขี้นไป      5

ส่วนช่วงขั้นที่สามที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 จนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2566 มีอัตราดังนี้

อัตราการเก็บภาษีความหวานปี 2564 – 2566

ปริมาณน้ำตาล (กรัม/100 มล.)    เสียภาษี (บาท/ลิตร)

8 – 10     1

10 – 14   3

14 ขี้นไป      5

ขณะที่ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566 เป็นต้นไป มีอัตราดังนี้

อัตราการเก็บภาษีความหวานปี 2566 เป็นต้นไป

ปริมาณน้ำตาล(กรัม/100 มล.)     เสียภาษี (บาท/ลิตร)

6 – 8        1

8 – 10     3

10 ขี้นไป      5

ปรับที่พฤติกรรมการกิน

การขึ้นภาษีน้ำตาลอาจจะมีส่วนช่วยให้พฤติกรรมการบริโภคของคนไทยเปลี่ยนไปได้ส่วนหนึ่ง

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปรับความเคยชินในการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด

เค็มจัด หรือมันจัด ให้อยู่ในระดับที่ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

อาหารไทยImage copyrightAFP/GETTY IMAGES

รศ.ดร. ประไพศรี ศิริจักรวาล ที่ปรึกษาสถาบันโภชนาการ

มหาวิทยาลัยมหิดล บอกกับบีบีซีไทยว่า

อาหารที่คนไทยนิยมบริโภคในปัจจุบันมีผลทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมเร็วก่อนวัยอันควรจากรสจัด

ซึ่งต่างจากอาหารของคนไทยในสมัยก่อนที่เน้นผักและผลไม้มากกว่านี้

อีกทั้งรสชาติไม่ได้จัดจ้านเหมือนทุกวันนี้

อาหารผ่านกระบวนการแปรรูป “อย่างหนัก” ทำให้กินจุ-อ้วนง่าย

อาหารผ่านการแปรรูปมากเป็นพิเศษ ‘อาจเชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็ง’

“ลิ้นของเราเรียนรู้ที่จะรับรสสัมผัสได้ทุกรสตามธรรมชาติ

และเมื่อเรารับประทานอาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน ลิ้นเราก็จะค่อย ๆ

ปรับให้เคยชินกับรสชาตินั้น ๆ และเมื่อเราเคยชิน

เราก็จะปรับรสชาติให้จัดขึ้นเพื่อให้ถูกปากของเรา

ซึ่งนี่เป็นสาเหตุที่คนเราติดการรับประทานอาหารรสจัด

จนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามที่เราได้เห็นในปัจจุบัน” รศ.ดร.ประไพศรี กล่าว

โรคเรื้อรังต่าง ๆ อาจไม่แสดงผลทันทีหลังจากที่บริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็ม

แต่ในระยะยาวเมื่อมีการสะสมในร่างกายเป็นเวลานาน

ก็จะทำให้โรคอันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้

การปรับเพิ่มภาษีเพื่อสุขภาพโดยเริ่มจากน้ำตาลก่อน

นั้นถือเป็นหนึ่งในมาตราการสำคัญที่จะเข้ามาช่วยดูแลสุขภาพของคนไทย

ที่ปรึกษาสถาบันโภชนาการให้ความเห็น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-49115597

แบ่งปันบทความนี้