อาจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ให้ข้อมูลสาเหตุของคนที่มีพฤติกรรม Bully ผู้อื่น โดยพื้นฐานแล้วมีปัจจัยมาจากปัญหาทางด้านจิตใจและสังคม และยังเผยอีกว่า การที่เราจะบูลลี่คนอื่นได้ยังมีในเรื่องของทฤษฎีเรื่องของการตกเป็นเหยื่อ หรือทฤษฎีวัฏจักรความรุนแรง
การบูลลี่เกิดขึ้นมากมายในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นคนในวงการบันเทิง หรือ คนทั่วไป และในวัยเรียน การบูลลี่นั้นเป็นภัยสังคมที่ได้ทำร้ายชีวิตหลากหลายคน รวมถึงการไซเบอร์บูลลี่ ไซเบอร์บูลลี่คือการกลั่นแกล้งกันในโลกโซเชี่ยล ด้วยถ้อยคำวาจา หรือการโจมตีด้วยรูปภาพ วิดิโอ หรือสื่อต่าง ๆ ถ้าเรารู้จักใช้เทคโนโลยีในด้านประโยชน์ก็จะเกิดผลดีกับชีวิต แต่ในอีกด้านถ้าไม่สามารถควบคุมความคิดนำมาเป็นเครื่องมือใช้ทำร้ายผู้คนในปัจจุบันปัญหาการบูลลี่ได้รับความสนใจมากขึ้น จากทั้งองค์กร การวิจัย รวมไปถึงการทำกิจกรรมโครงการต่างๆ เพื่อเป็นการหาสาเหตุ ทางออก หรือ แนวทางการรับมือ และจากปัญหาการกลั่นแกล้งกันที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่าประเทศไทยติดอันดับ 2 ของโลกที่มีการกลั่นแกล้งกันในโรงเรียน
อาจารย์ ปิยพงศ์ แซ่ตั้ง อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ให้ข้อมูลสาเหตุของคนที่มีพฤติกรรม Bully ผู้อื่น ไว้ว่า การที่คน ๆ หนึ่งลุกขึ้นมาบูลลี่คนอื่น มักมีปัญหาพื้นฐานทางด้านจิตใจ เช่น การรู้สึกโดดเดี่ยว และไม่มีความสำคัญจนนำไปสู่การกลั่นแกล้งรังแกผู้อื่นเพื่อต้องการเรียกร้องความสนใจ หรือ เป็นที่สนใจ หรือ ปัญหาทางด้านสังคม เช่น สภาพแวดล้อมที่มีพฤติกรรมรุนแรง ซึมซับจนติดเป็นนิสัยจนคิดว่าเป็นเรื่องปกติ และส่วนหนึ่งมองว่าคนที่บูลลี่คนอื่นก็เพื่อแสดงความต้องการมีอำนาจเหนือผู้อื่น พยายามทำให้คนอื่นรู้สึกด้อยค่า ไม่ว่าจะด้วยการใช้คำพูด การกระทำ การดูถูกเหยียดหยาม แต่ในความเป็นจริง สำหรับคนทั่วไปการกระทำเหล่านี้กลับให้ความรู้สึกตรงกันข้าม
อาจารย์ ปิยพงศ์ ยังเผยอีกว่า การที่เราจะบูลลี่คนอื่นได้มันมีทฤษฎีเรื่องของการตกเป็นเหยื่อ ทฤษฎีวัฎจักรความรุนแรง ที่เรามองว่าก่อนที่เราจะเป็นคนบูลลี่คนอื่น ชีวิตเราต้องผ่านการบูลลี่มาก่อน คนนั้นก็เรียนรู้วิธีการบูลลี่จากคนอื่นแล้วก็ไปบูลลี่เหยื่อที่อ่อนแอกว่าตน นอกจากนี้สาเหตุที่คนบูลลี่คนอื่นยังมีเรื่องนิสัยมาเกี่ยวข้อง เช่น รู้สึกอิจฉา ดังนั้นสาเหตุของการบูลลี่ผู้อื่นของแต่ละคนนั้นมีปัจจัยที่ต่างกัน
ทั้งนี้ข้อมูลเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งกันในประเทศสหรัฐอเมริกา จาากโรงพยาบาล Sinai ในมหานครนิวยอร์ก เมื่อปี 2016 พบว่า พฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกมีความเชื่อมโยงกับกลไกการให้รางวัลตนเองในสมอง ส่งผลให้บุคคลนั้น ๆ เกิดความพึงพอใจขึ้น ผลการวิจัยชี้ว่า การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมคุกคามหนูตัวอื่นเปรียบเสมือนการให้รางวัลกับตัวหนูเอง สิ่งนี้สัมพันธ์กับปริมาณสารส่งผ่านประสาทโดปามีน (dopamine) ในสมองที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดภาวะพึงพอใจ สบายใจ แม้ว่านี่จะยังเป็นแค่การทดลองในสัตว์ก็ตาม แต่ก็พอช่วยให้เรามองเห็นโมเดลบางอย่างว่าทำไมใครบางคนจึงชอบใช้ความรุนแรง ด้านทีมวิจัยเสริมว่าสมองเป็นปัจจัยหนึ่งเท่านั้น เพราะพฤติกรรมของคนที่ก้าวร้าวนั้นมักมีความเกี่ยวข้องกับอาการเจ็บป่วยทางจิตเป็นสำคัญ
แต่ ‘สาเหตุของการบูลล่ี’ นั้นยังมีความซับซ้อนแล้วก็มีความหลายหลาย มีสาเหตุหลายประการที่กระตุ้นให้บางคนลุกขึ้นมากลั่นแกล้งผู้อื่น
สาเหตุที่ทำให้คนมีพฤติกรรมบูลลี่ผู้อื่น