บางครั้งคนป่วยมักมุ่งความสำคัญไปที่การรักษาอาการ
จนอาจหลงลืมไปว่า
แท้จริงแล้วเราอาจจะอยากทำอะไรนอกเหนือจากการนอนอยู่บนเตียงก็ได้
ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดีนั่นก็คือ
หากิจกรรมการผ่อนคลายให้ผู้ป่วย
การผ่อนคลายความเครียดให้ผู้ป่วย
ถือเป็นส่วนที่จะช่วยประคับประคองอารมณ์
จิตใจ ความรู้สึกของผู้ป่วยให้สงบ
และเป็นการชักจูงให้ผู้ป่วยออกจากความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานได้
การเลือกกิจกรรมสำหรับผู้ป่วยขึ้นอยู่กับความพร้อม
และความพึงพอใจของผู้ป่วยเป็นหลัก
จึงมีกิจกรรมสำหรับผู้ป่วยมาแนะนำ ดังนี้
ดนตรีบำบัด
การนำกิจกรรมทางดนตรีมาช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต
ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ
และสังคม ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูมีการใช้ดนตรีบำบัดหลายรูปแบบ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีบำบัด แบบอะคะโบชิ (Akaboshi’s Method of Music Therapy)
ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่การกระตุ้นระบบประสาท การเข้าจังหวะ
การเคลื่อนไหวของร่างกายและการหายใจ
รวมถึงดนตรีบำบัดแบบ Neurologic Music Therapy เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาหลักจากหน่วยงานบำบัดต่างๆ
การนวดและสัมผัส
การนวดเป็นการบำบัดที่สืบทอดกันมายาวนาน
ช่วยให้รู้สึกสบายทั้ง กายและใจ กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ระบบไหลเวียนเลือดและระบบน้ำเหลืองดีขึ้น
การนวดเป็นการสื่อสารความรู้สึกที่ไร้คำพูด
ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย
การนวดช่วยให้กล้ามเนื้อที่ยึดเกร็งได้คลาย
เมื่อกล้ามเนื้อได้คลายความเจ็บปวดจะบรรเทา
แต่ต้องระวังไม่นวดในบริเวณที่มีอาการปวด
งานอดิเรก
งานอดิเรกเป็นกิจกรรมยามว่างที่ช่วยผ่อนคลายอารมณ์และความเครียด
ช่วยให้ผู้ป่วยเว้นจากการคิดฟุ้งซ่าน
เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากมาย
ทั้งยังส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างหลากหลาย
ศิลปะ
ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือสำคัญ
เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ
ซึ่งหลักการของศิลปะบำบัด คือ ใช้ศิลปะเป็นสื่อในการแสดงออกถึงอารมณ์
ความรู้สึก ความขัดแย้ง และความต้องการ ที่ซ้อนเร้นอยู่ภายในส่วนลึกของจิตใจ
การแสดงออกทางผลงานศิลปะ
ไม่ว่าจะเป็นลายเส้น สี รูปทรง สัญลักษณ์ อารมณ์ ความหมาย
ที่สื่อออกมาทั้งหมดสามารถนำมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดว่าเป็นอย่างไร
หรือสภาพจิตมีปัญหาอย่างไร
ออกกำลังกาย
เป็นการปรับปรุง แก้ไข หรือบรรเทาปัญหา
หรืออาการป่วยทางสรีระต่างๆ ด้วยการออกกำลังกาย
มีประโยชน์มากมายจากการออกกำลังกายเพื่อบำบัดรักษาโรค
กิจกรรมอาสา
เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวมกับผู้อื่นเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ทำให้ช่วยลดความเครียดและสามารถช่วยหันเหความสนใจ
จากความทุกข์ทรมานทางกายหรือความทุกข์ทางใจบางอย่างที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ชั่วขณะ สสส.
ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บสสส.