0 0

“เดินกาแฟ” สานสัมพันธ์​ เรียนรู้ เข้าใจ ร่วมแก้ไขช่วยเหลือพี่น้องคนไร้บ้าน

กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ “เดินกาแฟ” เพื่อลงไปติดตามสถานการณ์พี่น้องคนไร้บ้าน อยู่ตรงไหน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร สร้างความสัมพันธ์ทำความรู้จัก ถ้าเขาอยากแก้ปัญหาในตัวเองเขาต้องทำอย่างไร จะไม่ได้มุ่งเน้นชี้แนะว่ามีศูนย์พักพิง หรือชักชวน แต่จะรับฟังปัญหาเพื่อช่วยหาทางแก้ไข เช่น ทำบัตรประจำตัวประชาชน สิทธิคุ้มครองต่าง ๆ ที่จะได้รับ รักษาพยาบาล หาอาชีพ การทำงานของทีมไม่ได้กดดันหรือบังคับ แต่จะรอเมื่อเขาพร้อม ปัจจุบันมี 2 จุดหลักใหญ่ๆ คือ หัวลำโพง และรังสิต-ปทุมธานี จุดที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ หัวลำโพง มีคนไร้บ้านอาศัยอยู่ประมาณ 200-300 คนต่อคืน...
0 0

กรมสุขภาพจิตเผยสถิติผู้ป่วยซึมเศร้าในไทยมีแนวโน้มฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นด้านผู้เชี่ยวชาญแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการเกิดโรค

กรมสุขภาพจิตเผย ในปี 2559 - 2560 มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั่วโลกประมาณ 322 ล้านคน และในไทย มีข้อมูลการสำรวจความชุกของโรคซึมเศร้าปี 2551 พบว่า มีคนไทยป่วยซึมเศร้า 1.5 ล้านคน ผู้หญิงเสี่ยงป่วยมากกว่าผู้ชาย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน (more…)
0 0

อาจารย์ด้านจิตวิทยาชี้ปัญหาทางด้านจิตใจและสังคมคือสิ่งที่ทำให้คนมีพฤติกรรมบูลลี่ผู้อื่น

อาจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ให้ข้อมูลสาเหตุของคนที่มีพฤติกรรม Bully ผู้อื่น โดยพื้นฐานแล้วมีปัจจัยมาจากปัญหาทางด้านจิตใจและสังคม และยังเผยอีกว่า การที่เราจะบูลลี่คนอื่นได้ยังมีในเรื่องของทฤษฎีเรื่องของการตกเป็นเหยื่อ หรือทฤษฎีวัฏจักรความรุนแรง (more…)
0 0

ลุงดำ สุชิน เอี่ยมอินทร์ จากคนเร่ร่อนเข้าสู่นายกสมาคมคนไร้บ้านตลิ่งชัน หวังผลักดันเรียกร้องสิทธิ​ให้คนไร้บ้านหวังความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

  นาย สุชิน เอี่ยมอินทร์ หรือที่เราเรียกว่า ลุงดำ ปัจจุบันเป็นนายกสมาคมคนไร้บ้าน ประกอบอาชีพเก็บของเก่าขาย ลุงดำ เป็นคนกรุงเทพมหานคร บ้านอยู่พุทธมณฑลสายสาม ลุงดำเป็นคนไร้บ้านตั้งแต่ปี พ.ศ.2544เมื่อก่อนได้ประกอบอาชีพเป็นช่างไม้ตกแต่งภายใน โดยมีนายจ้างเป็นนายทุนญี่ปุ่น แต่เวลาผ่านไปนายจ้างเกิดภาวะขาดทุนเลยต้องกลับประเทศ ลุงดำจึงกลายเป็นคนว่างงานโดยได้เงินงวดสุดท้ายเป็นเงินจำนวน 2000 บาท หลังจากนั้นก็ได้กลับบ้านมาตั้งหลักเพื่อที่จะหางานใหม่แต่อยู่ได้ไม่นาน ลุงดำก็หนีออกจากบ้านเพราะไม่อยากเป็นภาระของครอบครัวโดยไปอาศัยอยู่ที่สนามหลวงลุงดำเลยกลายเป็นคนไร้บ้านตั้งแต่นั้นมา เวลาผ่านไปงานก็หาไม่ได้เงินที่ได้มาจากงานที่เก่าก็หมดลง แต่ก็ได้มีคนไร้บ้านคนหนึ่งแนะนำอาชีพให้ลุงดำคือเก็บของเก่าขาย เช่น ขวดน้ำ กระดาษ ฯ เดิมทีลุงดำไม่อยากที่จะทำอาชีพนี้แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างเพื่อความอยู่รอดของตัวเองจึงต้องทำ ในระหว่างที่ลุงดำเก็บของเก่าขายก็ได้มีการไปสมัครอาชีพ รปภ. แต่ก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้เพราะอายุเกิน...
0 0

แพทย์เผย 9 วิธีรับมือเมื่อถูกกลั่นแกล้ง

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลกรุเทพ เผย 9 วิธีรับมือเมื่อเด็กถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียน โดยย้ำว่าปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กในระยะยาว ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีกี่ยุคสมัย การรังแกหรือกลั่นแกล้งกันก็ยังคงไม่เลื่อนหายไปจากสังคมโลก  โดยเฉพาะน้องๆ วัยรุ่นวัยเรียนรู้ หลายครั้งที่เราเห็นเหตุการณ์การรังแกหรือล้อเล่นกันเกินเลยไปจนถึงการทําร้ายตัวเอง สาเหตุมาจากเรื่องเล่นๆ ที่ไม่เล่นอย่างการบูลลี่หรือการรังแกกลั่นแกล้ง เมื่อการแก้ไขปัญหาการบูลลี่ให้หมดไปไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งที่เราต้องทำคือควรมีวิธีรับมืออย่างไรเมื่อเราหรือคนใกล้ตัวถูกบูลลี่   บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS จึงได้จัดกิจกรรมเพื่ออบรมให้ความรู้ แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู ที่โรงเรียนทอสี ในหัวข้อ “คำพูดสร้างสรรค์ สร้างสังคมน่าอยู่ ไม่บูลลี่ในเด็ก” เพื่อเป็นการสานต่อโครงการ “Shared Kindness คำพูดสร้างสรรค์ สร้างสังคมน่าอยู่” รณรงค์ลดการทำร้ายจิตใจผ่านคำพูด สนับสนุนการส่งต่อคำพูดสร้างสรรค์ในสังคมไทย นพ.กมล แสงทองศรีกมล ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า...
0 0

ผลสำรวจพบกรุงเทพฯ มีประชากรคนไร้บ้านมากที่สุดในประเทศร้อยละ 38

  ผลสำรวจพบกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีคนไร้บ้านมากที่สุดในประเทศที่ร้อยละ 38 รองลงมานครราชสีมาร้อยละ 5 ส่วนเชียงใหม่ร้อยละ 4  เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานแถลงข่าวในหัวข้อ เสวนาคนไร้บ้าน ณ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยในวันงานนั้นมีผู้ร่วมแถลงผลการสำรวจแจงนับคนไร้บ้านและการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายจากการแจงนับคือ นาย อนรรฆ พิทักษ์ธานิน ผู้จัดการแผนงานพัฒนาองค์ความรู้คนไร้บ้านฯ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนางสาว นพพรรณ พรหมศรี เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยเวทีเสวนาสาธารณะและผลการสำรวจแจงนับคนไร้บ้านสู่การขยายผลเชิงปฏิบัติการและนโยบาย ในส่วนของผู้ร่วมเสวนา มี 6...
0 0

นักวิชาการสื่อ NIDA ชี้ สังคมจะดีได้ขึ้นอยู่ที่หน้าที่ความรับผิดชอบของสื่อ

รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ นิด้า เผยว่าสื่อควรมีประโยชน์ต่อสาธารณะ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและไม่ควรไปละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ ถึงแม้เขาจะเสียชีวิตไปแล้ว สื่อควรมีจรรยาบรรณต่ออาชีพ มีอุดมการณ์ที่ดีเพื่อสังคมและจะทำให้ประเทศเจริญขึ้นได้ [caption id="attachment_904" align="aligncenter" width="451"] ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  (นิด้า)[/caption]   จากเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์ RAMintouch ได้นำเสนอประเด็นข่าวเรื่องกรมสุขภาพจิตชี้การฆ่าตัวตายในสื่อ มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบไปแล้วนั้น (more…)
0 0

“โคโรน่าไวรัส” ทำพิษส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวหลักซบเซา

[caption id="attachment_807" align="alignnone" width="750"] ถ่ายเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 14.00 น.[/caption] อัพเดตสถานการณ์ล่าสุดไวรัสโคโรน่าสายพันธุใหม่ยังคงแพร่ระบายในประเทศจีนและขยายวงกว้างไปอีกกว่า 27 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ส่งผลให้การท่องเที่ยวหลักของไทยลดลง จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ 2019 ( COVID-19) ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน ทำให้จีนปิดเมืองอู่ฮั่นตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563 ทำให้นักท่องเที่ยวจีนไม่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ [caption id="attachment_786"...
0 0

แม่ค้าหน้าราม เผย วาเลนไทน์นี้ “ดอกกุหลาบ” ขายดีสุด

ร้านค้าหน้าม.รามฯ เผยวาเลนไทน์นี้ "ดอกกุหลาบ" ขายดีสุด วันวาเลนไทน์ปีนี้พบว่าร้านค้าหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ดอกกุหลาบขายดีที่สุด รองลงมา สติกเกอร์รูปหัวใจและช็อกโกแลต จากการสุ่มสำรวจร้านค้าหน้าราม 5 ร้าน พบว่าในร้านค้าที่ขายของขวัญช่วงวันวาเลนไทน์ "ดอกกุหลาบขายดีที่สุด" ไม่ว่าจะเป็น กุหลาบกล่องหรือกุหลาบช่อ ขายให้กับบุคคลทั่วไป ผู้ชายวัยทำงาน และดอกกุหลาบดอกเล็กๆ ดอกละ 10 - 20 บาท ส่วนใหญ่ขายให้กับ เด็กนักเรียนมัธยมทั้งชายหญิง พร้อมเผยอีกว่า ช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ปีนี้แย่มากๆ ปีที่แล้วยังพอขายได้...
0 0

ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตชี้การนำเสนอภาพการฆ่าตัวตายในสื่อมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบมากยิ่งขึ้น

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ เผยว่า จากสื่อวิทยุโทรทัศน์หลาย ๆ ช่องได้มีการนำเสนอข่าว #การฆ่าตัวตาย ทำให้กลุ่มผู้ที่เปราะบางอยู่แล้วนั้นส่งผลไปกระตุ้นให้คนเลียนแบบการฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้น จากเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิตได้มีการกล่าวถึงประเด็นดังกล่าว โดยนพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการศึกษาทั่วโลกมีข้อมูลตรงกันว่าการฆ่าตัวตายเป็นพฤติกรรมที่มีความสลับซับซ้อน ไม่อาจจะบอกได้ว่ามาจากสาเหตุเดียว หรือมีความเครียด นั่นแปลว่าต้องมีความเครียดสะสมหลายอย่าง หากเป็นโรคซึมเศร้าก็ต้องมีสาเหตุอื่น ๆ ที่สะสมมาก่อน ทั้งนี้เมื่อเกิดเหตุฆ่าตัวตายขึ้นแล้วพบว่าความสูญเสียไม่ได้จบอยู่แค่นั้น แต่จะทำให้คนรอบข้างของผู้เสียชีวิต ญาติ เกิดความรู้สึกผิดว่าตัวเองมีส่วนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นหรือไม่ ทั้งที่จริง ๆ แล้วไม่ได้มีส่วนเลย แต่ก็จะโทษตัวเองอยู่อย่างนั้น บางคนอาจจะก้าวผ่านความรู้สึกสูญเสียและความรู้สึกผิดไปได้เมื่อเวลาผ่านไป แต่บางคนไม่สามารถก้าวผ่านได้ ต้องเป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องได้รับการเยียวยาต่อไป...