Back to the Future เยี่ยมชมหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 นักศึกษาหลักสูตรภาพยนตร์ดิจิทัลและสื่อสร้างสรรค์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง เดินทางไปเยี่ยมชมหอภาพยนตร์ ภายใต้โครงการ Back to the Future
“หนังเรื่องนี้ให้อะไรกับเรา.. อาจเป็นผลกำไร มิตรภาพ หรือประสบการณ์”

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา สาขาวิชาภาพยนตร์ดิจิทัลและสื่อสร้างสรรค์ ขอขอบคุณ คุณสันติ แต้พานิช ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระ ที่ได้ให้เกียรติมาถ่ายทอดและแบ่งปันประสบการณ์การสร้างภาพยนตร์สารคดี
ร่วมพูดคุย ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง 4kings อาชีวะ ยุค 90

สาขาวิชาภาพยนตร์ดิจิทัลและสื่อสร้างสรรค์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้รับเกียรติจากคุณพุฒิพงษ์ นาคทอง ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง 4kings อาชีวะ ยุค 90 ที่มาร่วมเสวนาหลังการรับชมภาพยนตร์เรื่อง 4 Kings เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา
“Scene 1 Take 1” ปฐมนิเทศนักศึกษา ภาพยนตร์ดิจิทัลและสื่อสร้างสรรค์ 2565

“Scene 1 Take 1” ปฐมนิเทศนักศึกษา ภาพยนตร์ดิจิทัลและสื่อสร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา อธิการบดี ม.ร. ต้อนรับนักศึกษาใหม่ สาขาวิชาภาพยนตร์ดิจิทัลและสื่อสร้างสรรค์
“ไม่ตรงปก” พูดคุยกับ ต้าร์ FEDFE BOYBAND ศิษย์เก่าสื่อสารมวลชนรามคำแหง

“ไม่ตรงปก” ปฐมบทด้วยการมาพูดคุย พี่ต้าร์ FEDFE BOYBAND กลุ่มคนที่ต้องการจะพิสูจน์ว่า ถึงไม่หล่อ ไม่เก่ง ไม่รวย แต่สามารถประสบความสำเร็จได้ พี่ต้าร์ เดทร็อค เฟ็ดเฟ่บอยแบนด์ หรือ ในนาม ลิขิต สิธิพันธุ์ ผู้โด่งดังในโลกโซเชียล ปัจจุบันยังเป็นเจ้าของช่องรายการยูทูป จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน พี่ต้าร์ เฟ็ดเฟ่บอยแบนด์ จากคนธรรมดาที่หน้าตาธรรมดา กลับกลายเป็นบุคคลที่วัยรุ่นส่วนใหญ่พูดถึงมากที่สุด จากผลงานที่โครตจะเกรียน แปลก แวกแนวไปสะทุกเรื่อง เขาคิดว่าสิ่งที่พี่ต้าร์ทำนั้นอาจจะไม่ตรงปกตามที่สังคมตั้งให้ แต่เขาก็มีความสุขที่จะทำ เพื่อเสียงหัวเราะของผู้คนที่ได้รับชม และทำให้พี่ต้าร์โด่งดังมาได้ถึงทุกวันนี้ จุดเริ่มต้นของการเป็นบอยแบนด์ พี่ต้าร์บอกกับเราว่า “เริ่มจากวัยเรียนแหละครับ ตอนที่ผมยังเป็นนักศึกษาอยู่ ที่มหาลัยรามคำแหงเหมือนเป็นจุดเริ่มของผมเลยก็ว่าได้ ผมได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างจากที่นั้น และได้รู้จักกับเพื่อนๆ ที่ช่วงยูปทูปด้วยกันนี้แหละครับ ถามว่าทำไมถึงรู้จักกันนะ ก็อาจจะเป็นเพราะเรียนคณะเดียวกันชอบอะไรเหมือนๆกันประมานนี้ละมั่งครับ” ตอนที่พี่ต้าร์ยังเรียนอยู่รามคำแหง พี่ต้าร์บอกว่า เขาได้อะไรจากที่นั้นเยอะมาก ทั้งความรู้ และมิตรภาพจากเพื่อนๆกลุ่มเฟ็ดเฟ่ ทำให้ได้ค้นพบตัวเองว่าชอบอะไร ตอนพี่ต้าร์กำลังเรียนอยู่เขาบอกกับเราว่า “ตอนที่ผมเรียนอยู่นั้น อาชีพในฝันของผมคือ……ผมฝันอยากเป็นผู้กำกับหนัง หลังจากนั้นมีอยู่วันหนึ่งผมเสนอให้เพื่อนๆว่า ผมอยากทำหนังสั้นส่งเข้า ประกวด เลยชวนเพื่อนๆมาทำหนังสั้นส่งประกวดด้วยกับ ส่งไปเรื่อยๆ […]
“มัท-มัทนาวดี” ว่าที่บัณฑิตสื่อสารมวลชน ภาคพิเศษ ประสบความสำเร็จด้วยคำว่า “เราทำได้”

“เราทำได้” เป็นคำหนึ่งที่ มัท-มัทนาวดี พลรัตน์ ว่าที่บัณฑิตคณะสื่อสารมวลชน ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ใช้เสมอในช่วงที่เรียนอยู่และสิ่งนี้เองทำให้เธอเรียนจบด้วยเกรดเฉลี่ยสูงถึง 3.70 มัท-มัทนาวดี เริ่มต้นบทสนทนาด้วยการบอกว่า “หนูเป็นเด็กซิ่ว มาจากสาขาวิศวะวัสดุ มหาวิทยาลัยปิดแห่งหนึ่ง พอเรียนไปได้ 2 ปีแล้วรู้สึกว่ามันไม่ใช่ แล้วในช่วงนั้นก็ได้ไปช่วยเพื่อนทำกิจกรรมกับเพื่อนที่เรียนสายนิเทศศาสตร์แล้วรู้สึกชอบมาก เลยตัดสินออกจากคณะที่เรียนแล้วหาที่เรียนใหม่” เมื่อถามถึงการต่อต้านจากพ่อ-แม่ที่จะออกจากที่เดิมเพื่อหาที่เรียนใหม่ มัทตอบอย่างภูมิใจว่า พ่อ-แม่เข้าใจและสนับสนุนเต็มที่เพื่อให้ลูกได้เรียนสิ่งที่ชอบ โดยไม่กำหนดกฎเกณฑ์ว่าจะต้องเรียนให้มหาวิทยาลัยปิดเท่านั้น และสิ่งนี้เองทำให้เธอต้องมองหาที่เรียนใหม่ในสายนิเทศศาสตร์ หรือ สื่อสารมวลชน ที่จะตอบโจทย์ความสนุกในการเรียนของเธอ สุดท้ายเธอก็ตัดสินใจมาเรียนที่คณะสื่อสารมวลชน ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง “ต้องยอมรับว่าตอนแรกที่ตัดสินใจเรียนภาคพิเศษ เพราะจบได้เร็วกว่าภาคปกติค่ะ บวกกับเป็นคนที่กลัวความสบาย กลัวว่าถ้าเราทำอะไรที่มีอิสระมาก ๆ จะทำให้เราเป็นคนที่ขี้เกียจ ตอนนั้นเราทราบมาว่า การเรียนการสอนภาคพิเศษจะมีการเช็คชื่อเข้าเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์สำหรับเรา ทำให้เรามีวินัยในการเรียนมากขึ้น จึงตัดสินใจเลือกเรียนภาคพิเศษค่ะ” – มัทนาวดีกล่าว ทั้งนี้ด้วยความที่เธอเป็นคนที่ชอบเรียนรู้ตลอดเวลา สิ่งนี้เองทำให้เธอมองว่าการเรียนภาคพิเศษที่นี่เหมาะกับเธอมาก ๆ เพราะเป็นการเรียนภาคค่ำทำให้มีเวลาในช่วงกลางวัน ไปหาความรู้อื่น […]