คณะสื่อสารมวลชนเสริมศักยภาพให้กับบุคลารด้วยการจัดอบรม “การสร้างนวัตกรรม ปรับแนวคิด เปลี่ยนมุมมองด้วย Design Thinking มุ่งเน้นให้ทุกคนในหน่วยงานนำแนวคิดการคิดเชิงระบบไปปรับใช้และเสริมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
คณะสื่อสารมวลชน และมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีนโยบายในการขับเคลื่อนและผลักดันให้บุคลากรทุกฝ่าย ทั้งคณาจารย์ นักวิชาการ และบุคลาการสายสนับสนุน ได้เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และศักยภาพในการปฏิบัติงานในทุก ๆ ด้าน
โดยในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่บุคลากรทุกท่าน จะได้รับความรู้ในเรื่อง Design Thinking ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ความรู้ที่ทันสมัย และนับเป็นประโยชน์ต่อการสร้างนวัตกรรมทางความคิด เพื่อนำมาใช้ยกระดับการทำงาน และช่วยให้องค์กรสามารถสร้างสรรค์รูปแบบการทำงานต่าง ๆ ให้ตอบโจทย์ต่อบริบทที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ ตลอดจนยังมีส่วนช่วยให้ทุกท่าน พัฒนารูปแบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ชัดเจน และตอบสนองต่อความท้าทายในอนาคต โดยผลลัพธ์ที่ได้จะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมไปถึงได้เป็นต้นแบบที่เป็นรูปธรรมในการให้บริการทางการศึกษาของคณะต่อไป
โดยในช่วงแรก อาจารย์จเลิศ เจษฎาวัลย์ คณบดีคณะสื่อสารมวลชน กล่าวเปิดงานพร้อมมอบของที่ระลึกให้กับวิทยากร
ในส่วนของการบรรยายมี ดร.ก่อศักดิ์ โตวรรธกวณิชย์ ผู้จัดการสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ บริษัท บางจาก คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นวิทยากรพร้อมกับการทำเวิร์กช็อปในเรื่องของการทำ Design Thinking
ทั้งนี้ ดร.ก่อศักดิ์ ได้อธิบายถึงกระบวนการทำ Design Thinking นั้นเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบแนวความคิด เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าซึ่งก็คือกลุ่มเป้าหมาย คือปกติเวลาเราออกแบบเครื่องมือ จะยึดจากประสบการณ์ที่เรามี หลาย ๆ ครั้งก่อนเครื่องมือที่เราคิดว่าจะใช่ โดยอาจจะลืมคุยกับลูกค้าที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับเรื่องนั้น
กระบวนการ Design Thinking แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนขั้นตอนแรกคือ empathize คือการเห็นอกเห็นใจลูกค้า ซึ่งลักษณะสำคัญคือการเข้าไปฟัง เพื่อให้เราเข้าใจว่าสิ่งที่ แล้วเราก็เอามาเข้าสู่กระบวนการออกแบบ แล้วก็หาไอเดียที่มีอยู่แล้วหรือหามาเพิ่มเพื่อไปตอบโจทย์ หลังจากนั้นก็เอาไป ทดสอบ ซึ่งข้อดีก็คือกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และสามารถแก้ไขได้เพราะมันเป็นกระบวนการเริ่มต้น มีหลักคิดก็คือว่าเอาไปใช้แล้วยิ่งผิดพลาดยิ่งดี เพราะเราจะไม่ทำอย่างนั้นซ้ำอีก ภายใต้ระยะเวลาที่น้อยและต้นทุนที่จำกัด พอเราทำต้นแบบเสร็จแล้วก็มาถึงกระบวนการเทสในตลาด มาขึ้นแล้วก็จะไปสู่กระบวนการ scale up มาเป็นโครงการที่แมสมากขึ้นนั่นเอง
“ข้อดีคือมันไม่ได้เป็นกระบวนการที่ยาก แล้วมันเป็น การเปลี่ยน mindset ของคนที่ ออกแบบก่อนที่ทำเพื่อตอบโจทย์คนอื่น ไม่ได้ตอบโจทย์เพื่อตัวเอง เพราะในปัจจุบัน การเข้าไปสู่ลูกค้ารายบุคคล จำเป็นมากยิ่งขึ้นต้องรู้ลึก ถึงพฤติกรรม ความเชื่อ ความคิด แล้วจะจากหลายความคิดก็ทำให้เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่มากยิ่งขึ้น และในส่วนของ service และ product ก็จะได้มาจากตรงนั้นเอง” ดร.ก่อศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย