คณะสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คลังข้อมูลงานวิจัย

คณะสื่อสารมวลชน

MCRU Research Repository

ชื่อผลงาน :

ปัจจัยพยากรณ์ความสำเร็จในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้.

ชื่ออื่นๆ :

ผู้สร้างผลงาน :

คำสำคัญ :

ปีที่ตีพิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 27 ฉบับที่ 53. มกราคม - เมษายน 2562 (หน้า 87-108)

บทคัดย่อ :

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดบทเรียนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนต้นแบบ 2) พัฒนา และตรวจสอบ ความสอดคล้องของแบบจำลองเชิงสาเหตุปัจจัยพยากรณ์ความสำเร็จในการส่งเสริม การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาอิทธิพล ทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรต่าง ๆ ในแบบจำลอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ (1) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่มกับผู้นำและสมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่ ประสบความสำเร็จในการรวมกลุ่ม จำนวน 2 ชุมชน และไม่ประสบความสำเร็จ 1 ชุมชน ของจังหวัดเชียงราย และ (2) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการสำรวจประชาชนในเขต ชายแดนภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครพนม และ
ภาคใต้ จังหวัดสงขลา จำนวน 424 คน ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า องค์ประกอบด้านธรรมชาติ คน สังคม การเมือง/ นโยบายการค้า การค้า โครงสร้างพื้นฐาน ศิลปวัฒนธรรม การเงิน และการสื่อสาร เป็นปัจจัยที่ทำให้วิสาหกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง และคนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ของทุกชุมชน ในขณะที่ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ปัจจัยด้านการเมือง/นโยบายการค้า ด้านการค้าและด้านการสื่อสาร มีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชน ในขณะที่ปัจจัยด้านการเงินมีอิทธิพล ทางอ้อมเชิงลบต่อระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชน

 


 

      The objectives of this research were to: 1) conduct lesson learned to capture factors that were successfully influenced on the grassroots economy development of community; 2) develop and verify the structural equation model that predict the success of grassroots economic development in community; and 3) investigate the direct and indirect
effects among factors in the model. Mixed research methods that include qualitative and quantitative approach were utilized in this study. With the qualitative approach, focus-group discussion technique was employed to gather information from participants who were at that time leaders and members of successful community enterprises and unsuccessful community enterprise in Chiang Rai province. Regarding the quantitative approach, self-administrative questionnaires were distributed to 424 respondents residing in the bordering province of Northern region (Chiang Rai province), Northeastern region (Nakhon Phanom province) and Southern region (Songkhla province). The findings of qualitative approach revealed that natural, human, society, political and policy, trading, infrastructure, culture, economic and communication were important factors that promoted grassroots economy development and well-being in community. However, the results of quantitative approach partially confirmed that political, policy, trading and communication factors yielded positive indirect effects on the well-being among people in community. Moreover, financial factor had a negative indirect impact on economic system and well-being of people in the community. 

 

ไฟล์เอกสารในรายการนี้

รายละเอียด :

รูปแบบ :

ปัจจัยพยากรณ์ความสำเร็จในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้.