คลังข้อมูลงานวิจัย

คณะสื่อสารมวลชน

MCRU Research Repository

ชื่อผลงาน :

การวิเคราะห์เนื้อหาสื่อ ตราสัญลักษณ์และคำขวัญประจำจังหวัดของไทย

ชื่ออื่นๆ :

ผู้สร้างผลงาน :

ปีที่ตีพิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 หน้า 1-30 มกราคม-เมษายน ISSN 2465-3756

บทคัดย่อ :

การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์เนื้อหาสื่อตราสัญลักษณ์ และค าขวัญประจ าจังหวัดของไทย มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบโครงสร้าง องค์ประกอบ และความหมายเชิงสัญญะ ที่ปรากฏ
ในตราสัญลักษณ์และค าขวัญประจ าจังหวัดของประเทศไทย ด าเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ (1)
การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ด้วยการศึกษาเอกสาร (2) ท าการวิเคราะห์องค์ประกอบโครงสร้างของตรา
สัญลักษณ์และค าขวัญ (3) การวิเคราะห์เนื้อหาตราสัญลักษณ์และค าขวัญประจ าจังหวัด ผ่านการแจง
นับและจ าแนกเนื้อหาจากชิ้นงาน 154 ชิ้น ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
ผลการวิจัย พบว่า ตราประจ าจังหวัดของไทยทั้งหมด ประกอบด้วยโครงสร้างแบบรูปธรรม
และเครื่องหมาย (Fe = 77, n = 77; 100%) และมีการใช้องค์ประกอบภาพในลักษณะรูปร่างจริงมาก
ที่สุด (Fe = 149, n = 77; 100%) โดยให้ความหมายโดยตรงมากกว่าความหมายโดยนัย (โดยตรง Fe
= 107, n = 71; 92.20% : โดยนัย Fe = 73, n = 56; 72.72%) ส าหรับค าขวัญทั้งหมดประกอบด้วย
โครงสร้างแบบบอกเล่า (Fe = 421, n = 77; 100%) โดยมีรูปแบบเสียงสัมผัสมากที่สุด (Fe = 418,
n = 76; 98.70%) และมีการให้ความหมายโดยตรงมากที่สุด (Fe = 442, n = 77; 100%)
นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างตราสัญลักษณ์และค าขวัญ ในการ
สะท้อนมูลค่าทุนด้านต่าง ๆ โดยพบว่าประเภททุนที่มีค่าน้ าหนักความถี่มากที่สุดคือ ทุนทางวัฒนธรรม
(Fe weight = 402) รองลงมาคือ ทุนทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Fe weight = 305) ทุนทาง
เศรษฐกิจ (Fe weight = 199) และทุนทางสังคม (Fe weight = 96) ตามล าดับ
ทั้งนี้ สื่อตราและค าขวัญประจ าจังหวัดของไทย มีการสื่อความหมายไปในทิศทางเดียวที่
สอดคล้องเช่นเดียวกัน โดยเน้นการสื่อสารถึงทุนด้านวัฒนธรรมเป็นหลัก ตามมาด้วยทุนประเภทอื่น ๆ
ส าหรับลักษณะการสื่อความหมายโดยสะท้อนทุนดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า วัฒนธรรมนับเป็นต้นทุนที่มี
มูลค่าของไทย ซึ่งถูกน ามาใช้เป็นเครื่องมือในการน าเสนอถึงอัตลักษณ์ในภาพรวม ผ่านการเชื่อมโยง
กับต้นทุนทางวัฒนธรรมที่แต่ละจังหวัดมีอยู่

ไฟล์เอกสารในรายการนี้

รายละเอียด :

รูปแบบ :

การวิเคราะห์เนื้อหาสื่อ ตราสัญลักษณ์และคำขวัญประจำจังหวัดของไทย