คลังข้อมูลงานวิจัย

คณะสื่อสารมวลชน

MCRU Research Repository

ชื่อผลงาน :

สร้างสรรค์ทักษะผ่านสมอง.วารสารคณะนิเทศศาสตร มสธ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชื่ออื่นๆ :

ผู้สร้างผลงาน :

ปีที่ตีพิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

วารสาร คณะนิเทศศาสตร มสธ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561 หน้า 78- 91

บทคัดย่อ :

      จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มนุษย์มีสมองที่มหัศจรรย์แตกต่างจากสัตว์ เพราะสมอง มนุษย์สามารถเลือกที่จะสร้างสรรค์หรือทําลายชีวิตตนเองและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้ด้วย เช่นกัน อยู่ที่มนุษย์จะเลือกทําด้านใด ความพร้อมในการดําเนินชีวิตให้มีคุณค่าเพื่อ ก้าวเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัล มนุษย์อาจมองว่าเสียเวลาแต่มนุษย์เป็นนักพัฒนา เราประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งต่าง ๆ มาอํานวยความสะดวกให้ตนเองมากมาย เรามองและให้คุณค่าแต่ปลาย ทางว่าสิ่งที่คิดค้นได้มีประโยชน์กับเราอย่างไรจนติดอยู่ในวัฏจักรของ “ความอยาก” ทําให้ มนุษย์ไม่เสียเวลาเพื่อเรียนรู้วิธี การสร้างคุณค่าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางเลย การสร้างคุณค่าไม่มีทางลัด มีแต่ลอง ทําให้รู้จริงเท่านั้น ถ้ามนุษย์มีความอยากที่จะทําสิ่งดีๆ เพื่อตนเองและคนอื่นบ้าง สังคม จะมีแต่ข่าวดี เหตุการณ์ดีที่มีคุณภาพในการเรียนรู้และสานต่ออย่างแน่นอน แม้ว่า ความอยากจะไม่มีวันหมดไป แต่อย่างน้อย “ความอยากกับคุณค่า” ควรจะทําหน้าที่ไป ด้วยกันได้ เพราะสังคมปัจจุบันที่เริ่มด้วยความเร่งรีบ ทุกอย่างต้องรวดเร็วให้ทันกับ เหตุการณ์ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทําให้มนุษย์หลงลืมว่าความสําคัญของชีวิต คืออะไร และการที่มนุษย์ต้องการความรวดเร็วในทุกอย่างทําให้ช่องว่างในการใช้ชีวิต กว้างขึ้น นั้นคือความเหงา โหยหาความสุข การยอมรับจากสังคม และในเมื่อมนุษย์เป็น สัตว์สังคมการเตรียมตั้งรับและพัฒนาการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดสู่รุ่นต่อรุ่นจึงมีความสําคัญ มาก และเมื่อการสื่อสารเป็นช่องทางที่สามารถนําเสนอประโยชน์ของมนุษย์ไปสู่กลุ่มใน สังคมนั้นๆ ได้ การตั้งคําถามเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สามารถนํามาพัฒนาศักยภาพ ในการสร้างสรรค์ทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อสังคมในอนาคต บทความนี้นําเสนอแนวคิดที่เริ่มต้นด้วยนามธรรม คือการสร้างคุณค่า โดยใช้การสื่อสาร ด้วยการตั้งคําถามจากการใช้ทักษะผ่านสมองของมนุษย์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าศักยภาพของ การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์สามารถส่งผลกระทบด้านบวกต่อตนเองและสังคมได้อย่างเหลือเชื่อ

 


 

      Based on scientific data, humans have a fantastic brain. That is the reason why humans are unlike animals. Because humans brain can be creative or destructive to themselves and other creatures as well. In order to step into the digital society, the readiness in living a valuable life, it is generally a waste of time, whereas human beings are the developers and also inventors of many things to facilitate themselves. It is human value that we should appreciate, and it is important for everyone to find value in themselves and develop. We are stuck in the cycle of “craving” with this reason we do not waste time to learn how to create value for ourselves, and no matter how we step into society. The craving is not gone, but at least. “Craving for value” should be able to function together. As the current society began with hastiness. Therefore everything must be quick to keep up with the event. Consequently, we should prepare ourselves to be proactive when coping with the environmental changes which may make people forget that the essence of life is. However, the human need for speeding in everything makes the gap in living wider. That is “Loneliness, Wishing for happiness and Acceptance of society”. The reason is humans are social animals, thereby the preparation, reception and development of communication to the next generation is very important for being a social animal. And when communication is the channel that can bring human values to the group in that society. The questions can develop the potential to create a variety of skills for society in the future should be our destination. The question for your answer is “Where do humans go?” This article presents concepts which start with abstract of value creation. There is a way to deal with communication through the question of using skills through the human brain. To demonstrate that the potential of creative communication can have a positive impact on self and society.

 

ไฟล์เอกสารในรายการนี้

รายละเอียด :

รูปแบบ :

สร้างสรรค์ทักษะผ่านสมอง.วารสารคณะนิเทศศาสตร มสธ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.