คณะสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คลังข้อมูลงานวิจัย

คณะสื่อสารมวลชน

MCRU Research Repository

ชื่อผลงาน :

การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ.

ชื่ออื่นๆ :

ผู้สร้างผลงาน :

ปีที่ตีพิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 27 ฉบับที่ 54 พฤษภาคม – สิงหาคม 2562 (หน้า 22-47)

บทคัดย่อ :

      วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารที่เหมาะสมต่อ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรต่าง ๆ ในโมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผล ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบ ผสมผสาน ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก (1) เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข (2) เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (3) แกนนำผู้สูงอายุ ภาคประชาชนของกรุงเทพฯ จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี และ 2) การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยหรือ ทำงานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 480 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ปัจจัยด้านผู้ส่งสาร เนื้อหาสาร สื่อ/ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร ล้วนส่งผลต่อ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ ส่วนผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ของผู้สูงอายุ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ขณะที่ตัวแปรการบูรณาการสื่อ ในชุมชน และการสื่อสารเนื้อหาที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิถีสุขภาพของผู้สูงอายุ เป็น 2 ตัวแปรเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ 

 


 

      This research objectives were: 1) to analyze communication factors that were suitable for elders’ holistic healthcare behavior; 2) to study direct and indirect effects among variables in causal model of communication factors affecting holistic healthcare behavior of the elders; and 3) to investigate the congruence of causal model and empirical data. Mixed methods research was utilized included qualitative and quantitative approaches. In the part of qualitative approach, in-depth interview was conducted with (1) public health officers, (2) local administrative officers and (3) elderly leaders from Bangkok, Nonthaburi, Smut Prakarn and Pathum Thani provinces. Regarding quantitative approach, survey research technique was employed to collect data from 480 elders who resided or earned a living in Bangkok and its vicinity. Qualitative research findings revealed that factors related to the sender, message, media/channel and receiver all affected healthcare behavior of the elders. What is more, the findings of quantitative research revealed the causal model of communication factors affected the elders’ holistic healthcare behavior. This was consistent with the empirical data. Meanwhile, variables related to community media integration and communication of various contents are consistent with elders’ healthy ways and were two dominant independent variables which had effects toward holistic healthcare behavior of the elders.

 

ไฟล์เอกสารในรายการนี้

รายละเอียด :

รูปแบบ :

การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ.