- คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- การพัฒนานวัตกรรมสื่อเพื่อลดคำรุนแรงในข่าวและสร้างการรู้เท่าทันอารมณ์ในข่าว
คลังข้อมูลงานวิจัย
คณะสื่อสารมวลชน
MCRU Research Repository
ชื่อผลงาน :
การพัฒนานวัตกรรมสื่อเพื่อลดคำรุนแรงในข่าวและสร้างการรู้เท่าทันอารมณ์ในข่าว
ชื่ออื่นๆ :
ผู้สร้างผลงาน :
คำสำคัญ :
ปีที่ตีพิมพ์ :
สำนักพิมพ์ :
วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (2022): กรกฎาคม – ธันวาคม 2565 หน้า 50 – 64. ISSN 1906-6988
บทคัดย่อ :
งานวิจัยการพัฒนานวัตกรรมสื่อเพื่อลดคำรุนแรงในข่าวและสร้างการรู้เท่าทันอารมณ์ในข่าว ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีจุดประสงค์ เพื่อพัฒนาต้นแบบเครื่องมือในการประเมินอารมณ์ในข่าว ชุดสื่อเพื่อการเรียนรู้ให้รู้เท่าทันอารมณ์ในข่าวและการแสดงออกบนสื่อสังคมออนไลน์ และนวัตกรรมกระบวนการในการสร้างการรู้เท่าทันอารมณ์ในข่าวและลดความรุนแรงในการสื่อสาร โดยดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย 3 กลุ่มคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ ในจังหวัดนนทบุรีเป็นกลุ่มผู้สร้างเครื่องมือประเมินอารมณ์ในข่าวและชุดการเรียนรู้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ 1 เรียนรู้การรู้เท่าทันอารมณ์ผ่านชุดสื่อการเรียนรู้ และ กลุ่มที่ 2 เรียนรู้ผ่านกระบวนการเป็นผู้ผลิตสื่อ จากผลการศึกษาพบว่า เครื่องมือประเมินอารมณ์ในข่าว ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างการรับรู้และรู้เท่าทันต่ออารมณ์ที่มากับข่าวและอารมณ์ของผู้อ่านได้ ส่วนชุดสื่อลดความรุนแรงในการสื่อสารทำให้เกิดการตระหนักรู้ถึงปัญหา แต่กลุ่มเป้าหมายไม่ได้แสดงแนวโน้มที่ชัดเจนต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมลดการสื่อสารที่อาจมีความรุนแรง แต่เมื่อใช้เครื่องมือควบคู่กับการให้กลุ่มตัวอย่างสวมบทบาทเป็นผู้ทดลองผลิตข่าวและเนื้อหาที่ลดความรุนแรงและอารมณ์ในข่าว พบว่า ทำให้กลุ่มตัวอย่างเป้าหมายที่มีส่วนร่วมในการวิจัยพัฒนา เข้าใจการประกอบสร้าง ผลของอารมณ์ในข่าวต่อพฤติกรรมผู้อ่าน และมีแนวโน้มพฤติกรรมที่จะหยุดคิด และไม่แสดงออกต่อประเด็นเรื่องราวนั้นด้วยอารมณ์รุนแรง รวมทั้งมีการเรียนรู้และเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอข่าวและการแสดงออกบนสื่อออนไลน์อย่างมีเหตุผลและลดความรุนแรงลงได้ ดังนั้น การใช้กระบวนการผลิตสื่อในการสร้างการเรียนรู้ ทำให้เกิดการเข้าใจ การคิดรู้สึกตาม การปรับทัศคติ และ เห็นการลงมือทำจริงผ่านทั้งการทำสื่อและการปฏิบัติในชีวิตจริง ทำให้มีแนวโน้มของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันข่าวสารได้